พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 8 - 14 มีนาคม 2567

ข่าวทั่วไป Friday March 8, 2024 14:45 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ฉบับที่ 30/2567
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 8 ? 14 มีนาคม พ.ศ. 2567
ออกประกาศวันศุกร์ 8 มีนาคม พ.ศ. 2567
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 8-10 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในระยะแรก สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 มี.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังอ่อน แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในช่วงวันที่ 8-10 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนองลม กระโชกแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่ และฟ้าผ่า เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาค
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
เหนือ
ในช่วงวันที่ 9-10 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่งส่วนมากตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ระยะนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยอ่อนในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดหอม เป็นต้น นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้งและควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
ตะวันออก เฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 8-10 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนและลมให้แก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนองเพราะอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า
กลาง
ในช่วงวันที่ 8-10 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.
- ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะนี้อยู่ในช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช
ตะวันออก
ในช่วงวันที่ 8-10 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 8-10 มี.ค.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรทำสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 9-14 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนที่มีฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 9-14 มี.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
RR
ระหว่างวันที่ 1 ? 7 มีนาคม 2567 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้มีฝนบางพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยในระยะครึ่งหลังของช่วงมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ลักษณะดังกล่าวทำให้มีฝนตกบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์และกำแพงเพชร ในวันที่ 2 มี.ค. ภาคตะวันอกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาคในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด
2
ทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-10 ของพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 1 มี.ค. และมีรายงานลมกระโชก
แรงบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 1 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลัง
ของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 2 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคตลอด
ช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะปลายช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง และมีฝนหนักถึงหนัก
มากบางแห่งในวันที่ 3-4มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนกระทั่ง
มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมี
ฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 3-4 มี.ค. กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 4 มี.ค.
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เลย
นครสวรรค์ ตราด และพังงา
สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักและฝนหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 36.0 มม. ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อ.ภูหลวง จ.เลย เมื่อวันที่ 1 มี.ค.
ภาคกลาง 70.0 มม. ที่ อ.แม่เปิน จ.นครสวรรค์ เมื่อวันที่ 2 มี.ค.
ภาคตะวันออก 154.6 มม. ที่ กกษ.พลิ้ว อ.ขลุง จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 3 มี.ค.
ภาคใต้ 49.2 มม. ที่ อ.ทับปุด จ.พังงา เมื่อวันที่ 4 มี.ค.
ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานครไม่มีรายงานฝนตกหนัก
สำหรับบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้
ภาคเหนือ 41.0 ? ซ. ที่ อ.เถิน จ.ลำปาง เมื่อวันที่ 5 มี.ค.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 41.2 ? ซ. ที่ อ.เมอื ง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 6 มี.ค.
และ ที่ อ.เมอื ง จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 6 มี.ค.
ภาคกลาง 42.0 ? ซ. ที่ ต.บัวชุม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 6 มี.ค.
ภาคตะวันออก 40.5 ? ซ. ที่ กกษ.ฉะเชิงเทรา อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 7 มี.ค.
ภาคใต้ 39.2 ? ซ. ที่ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 7 มี.ค.
กรุงเทพมหานคร 38.8 ? ซ. ที่ ท่าอากาศยานกรุงเทพ เขตดอนเมือง เมื่อวันที่ 5 มี.ค.
หมายเหตุ
เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก
ปริมาณฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0
เกณฑ์อากาศร้อน อากาศร้อน อากาศร้อนจัด
อุณหภูมิอากาศ(องศาเซลเซียส) 35.0-39.9 40.0 ขึ้นไป
สอต. หมายถึง สถานีอุตุนิยมวิทยา, กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร
ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร
กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา
3
ฉบับที่30/2567
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 8 ?14 มีนาคม 2567
ภาคเหนือ
ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% : ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% : ความยาวนานแสงแดด 6-9ชม.
ภาคใต้
ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% : ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
31-39
19-25
34-39
18-27
30-36
25-27
30-39
24-28
30-38
21-28
ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% : ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อุณหภูมิ
ลักษณะอากาศ
คลื่นลม
ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร
02-399-2387 ; 02-366-9336
ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% : ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.
~1 ม.
ไม่ควร !ให้น้ำฝนตกบนดินไหลลงบ่อ
1-2 ม.
ระวัง ! ศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
ควร ! ซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
ควร ! ผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง
(8-10 มี.ค.)
ระวัง !เพลี้ยอ่อนในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด


          ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ