พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 มีนาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Wednesday March 13, 2024 13:40 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 13 - 19 มีนาคม พ.ศ. 2567

ออกประกาศวันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 32/2567

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 13 - 17 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

คำเตือน ในช่วงวันที่ 18 - 19 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง และเข้าใกล้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 13 - 18 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37 - 42 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. หลังจากนั้น มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และหลีกเลี่ยงจากจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ส่วนในวันที่ 19 มี.ค.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 13 - 17 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ เฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตก บางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย สำหรับปริมาณน้ำระเหยที่มีมาก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และเนื่องจาก

ปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่18-19 มี.ค.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจงขณะฝนฟ้าคะนอง กลาง ในช่วงวันที่ 13 - 18 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37 - 42 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. หลังจากนั้น จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชเหี่ยวเฉา ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรมีน้ำสำรองเอาไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโต เพราะหากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ถ้าพืชขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้ สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนในวันที่ 19 มี.ค.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะฝนฟ้าคะนองลมแรง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 13 - 17 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่อุณหภูมิ

ต่ำสุด 25 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 7 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อน เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพด้วย สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ ส่วนในช่วง วันที่18-19 มี.ค.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นให้มั่นคงแข็งแรง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 13 - 18 มี.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ หลังจากนั้น มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % - ระยะนี้อากาศร้อน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืช ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟ

รอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพารา ควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน นอกจากนี้เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 6 - 12 มีนาคม 2567 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสระแก้ว ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ อุตรดิตถ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ลพบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และตราด

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ