พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 18 - 24 มีนาคม 2567

ข่าวทั่วไป Monday March 18, 2024 16:14 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ฉบับที่ 34/2567
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 18 ? 24 มีนาคม พ.ศ. 2567
ออกประกาศวันจันทร์ 18 มีนาคม พ.ศ. 2567
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 21-24 มี.ค. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ประกอบกับในช่วงวันที่ 22-23 มี.ค. คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่ และฟ้าผ่า เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาค
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
เหนือ
ในช่วงวันที่ 19-22 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค. หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ระยะนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยไฟพริกในพืชตระกูลส้ม เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้งและควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
ตะวันออก เฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ในวันที่ 19 มี.ค. หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนและลมให้แก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนองเพราะอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า
กลาง
ในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.
- ระยะนี้จะมีอากาศร้อนและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะนี้อยู่ในช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช
ตะวันออก
ในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งในวันที่ 19 มี.ค. หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร และห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรทำสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-21 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
RR
ระหว่างวันที่ 11 ? 17 มีนาคม 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยเฉพาะในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์บริเวณภาคเหนือและภาคกลางมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมี
2
ฝนหนักบางพื้นที่ส่วนมากในระยะต้นสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และ
ทะเลอันดามันตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกบางพื้นที่
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดสัปดาห์กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันที่ 15-16 มี.ค. โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ในระยะ
ต้นสัปดาห์และในวันที่ 16 มี.ค. กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะ
ครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศร้อนทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของ
สัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยในวันที่ 12 มี.ค. มี
ฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ
5-55 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 12 และวันที่ 15-16 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลาย
พื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ ในวันที่ 12 และวันที่ 16 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ
10-25 ของพื้นที่ ในระยะกลางสัปดาห์
สัปดาห์ที่ผ่านมาไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร
นครราชสีมา ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด
สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักและฝนหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้
ภาคเหนือ 55.0 มม. ที่ สนง.เกษตรอำเภอตรอน อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 11 มี.ค.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 66.0 มม. ที่ อ.พระทองคำ จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 11 มี.ค.
ภาคกลาง 53.4 มม. ที่ อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 12 มี.ค.
ภาคตะวันออก 90.0 มม. ที่ อ.สนามชัยเขต จ.สระแก้ว เมื่อวันที่ 12 มี.ค.
ภาคใต้ และกรุงเทพมหานครไม่มีรายงานฝนตกหนัก
สำหรับบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้
ภาคเหนือ 40.6 ? ซ. ที่ อ.เมอื ง จ.ตาก เมื่อวันที่ 15 มี.ค.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 39.9 ? ซ. ที่ อ.เมอื ง จ.เลย เมื่อวันที่ 16 มี.ค.
ภาคกลาง 41.0 ? ซ. ที่ ต.บัวชุม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 17 มี.ค.
ภาคตะวันออก 38.5 ? ซ. ที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 17 มี.ค.
ภาคใต้ 39.6 ? ซ. ที่ กกษ.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขนั ธ์ เมื่อวันที่ 14 มี.ค.
กรุงเทพมหานคร 37.7 ? ซ. ที่ ท่าอากาศยานกรุงเทพ เขตดอนเมือง เมื่อวันที่ 14 มี.ค.
หมายเหตุ
เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก
ปริมาณฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0
เกณฑ์อากาศร้อน อากาศร้อน อากาศร้อนจัด
อุณหภูมิอากาศ(องศาเซลเซียส) 35.0-39.9 40.0 ขึ้นไป
สอต. หมายถึง สถานีอุตุนิยมวิทยา, กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร
ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร
กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา
3
ฉบับที่34/2567
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 18 ?24 มีนาคม 2567
ภาคเหนือ
ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% : ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% : ความยาวนานแสงแดด 6-9ชม.
ภาคใต้
ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% : ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
25-38
17-26
27-38
18-26
29-37
22-28
29-38
22-27
29-38
21-27
ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% : ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อุณหภูมิ
ลักษณะอากาศ
คลื่นลม
ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร
02-399-2387 ; 02-366-9336
ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% : ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.
~1 ม.
ไม่ควร !ให้น้ำฝนตกบนดินไหลลงบ่อ
1-2 ม.
ระวัง ! ศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
ควร ! ซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
ควร ! ผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง
(19-20 มี.ค.)
ระวัง !เพลี้ยไฟพริกในพืชตระกูลส้ม


          ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ