พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 20 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2567
ออกประกาศวันพุธ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 35/2567
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 20 - 21 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ภาคเหนือและภาคกลางยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในขณะที่ในช่วงวันที่ 21 - 22 มี.ค. คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 22 - 26 มี.ค. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 20 - 21 มี.ค. บริเวณภาคเหนือ และภาคกลางจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ไม่ควรใกล้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะฝนฟ้าคะนอง รวมทั้งควรป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 26 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนจะมีอากาศร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 20 - 21 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 26 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 มี.ค.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 20 - 21 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 เฉียงเหนือ - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 26 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรสำรวจพื้นที่การเกษตร หากได้รับผลกระทบจากพายุฝนฟ้า
คะนองในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวน หากต้นไม้ล้มเอนควรผูกยึดให้ตั้งตรง ถ้ามีกิ่งฉีกหักควรตัดแต่ง กิ่งและทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝนในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าในโรงเก็บ กลาง ในช่วงวันที่ 20 - 21 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 26 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม. - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 21 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืช เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำในระยะเจริญเติบโต ซึ่งจะทำให้ผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ หากขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายสูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 20 - 21 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26
องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร และห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 26 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม. - เกษตรกรควรสำรวจพื้นที่การเกษตร หากได้รับผลกระทบจากพายุฝนฟ้าคะนองในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวน หากต้นไม้ล้มเอนควรผูกยึดให้ตั้งตรง ถ้ามีกิ่งฉีกหักควรตัดแต่งกิ่งและทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝนในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าในโรงเก็บ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 20 - 21 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ตั้งแต่ จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 26 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 21 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 20 - 22 มี.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ในช่วงวันที่ 23 - 26 มี.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันพืชเหี่ยวเฉา หากพืชขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้พืชตายได้ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับพื้นที่ซึ่งปริมาณฝนมีน้อย สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 13 - 19 มีนาคม 2567 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเลย และนครสวรรค์ ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยนาท ลพบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา