พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 25 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2567
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2567
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 37/2567
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 25 และ 28-31 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน / ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 มี.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คำเตือนในช่วงวันที่ 26-27 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ขอให้เกษตรกรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 25 และ 28-31 มี.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - จากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีและดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำและโรคลมแดด ตะวันออก ในช่วงวันที่ 25 และ 28-31 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ เฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 20-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 มี.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - จากสภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนและจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยไฟในข้าวโพด หนอนกออ้อยในอ้อย และหนอนเจาะฝักข้าวโพด เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจทำให้ผลผลิตเสีย หายเนื่องจากฝนที่ตกได้โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 26-27 มี.ค. กลาง ในช่วงวันที่ 25 และ 28-31 มี.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะฝักและลำต้นในข้าวโพด หนอนกออ้อยในอ้อย เป็นต้น สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ปริมาณมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการชะงักการเจริญเติบโตของพืช และควรหลีกเลี่ยงการตากผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจทำให้ผลผลิตเสียหายเนื่องจากฝนที่ตกโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 26-27 มี.ค.
ตะวันออก ในช่วงวันที่ 25 มี.ค. และ 28-31 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 มี.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 26-27 มี.ค. จะมีฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ควรสำรวจการผูกยึด ค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อลดความเสียหายจากลมแรง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อคลุกเคล้าน้ำฝนกันน้ำในบ่อเลี้ยงให้เป็นเนื้อเดียวกันป้องกันการช็อคน้ำของสัตว์น้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 29-31 มี.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศที่ร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการชะงักการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งควรคุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืชเพื่อลดการระบายของน้ำบริเวณผิวดินและเป็นการรักษาความชื้นในดิน
PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 18 - 24 มีนาคม 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะต้นและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในวันที่ 19-21 มี.ค. อีกทั้งมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาได้เคลื่อนผ่านภาคเหนือและประเทศลาวตอนบนในวันที่ 21-22 มี.ค. ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันแรกและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักถึงหนักมากในวันที่ 19-20 มี.ค. ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะต้นและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันที่ 19 มี.ค. มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 19 และวันที่ 21 มี.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 18 วันที่ 19 และวันที่ 23 มี.ค. จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 18 วันที่ 19 วันที่ 21 และ วันที่ 22 มี.ค. จังหวัดแพร่ น่าน และลำปาง ในวันที่ 18 วันที่ 19 และ วันที่ 22 มี.ค. จังหวัดพะเยา กำแพงเพชร และตาก ในวันที่ 19 มี.ค. กับจังหวัดเชียงรายในวันที่ 20 และวันที่ 22 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปในวันแรกและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันที่ 18 มี.ค. โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 19-20 มี.ค. มีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลย อุดรธานี และมหาสารคาม ในวันที่ 18 มี.ค. จังหวัดหนองบัวลำภู ในวันที่ 18 วันที่ 19 และวันที่ 24 มี.ค. และจังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 19 มี.ค. อีกทั้งมีรายงานลูกเห็บบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 18-19 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 50-60 ของพื้นที่ ในวันที่ 19-20 มี.ค. ส่วนวันที่ 22-23 มี.ค. มีฝนร้อยละ 30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 19 และวันที่ 23 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคในระยะต้นและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 19-20 มี.ค. มีฝนร้อยละ 50-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 19 วันที่ 20 และวันที่ 22 มี.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 19 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 22 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนบางพื้นที่ ในวันที่ 21-22 มี.ค. ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร เลย นครสวรรค์ อุทัยธานี และชลบุรี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยนาท ลพบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา