พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 1 - 7 เมษายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 40/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คำเตือน บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนชาวเรือและชาวประมง บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 - 43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อุณหภูมิกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้แตกต่างกันมาก เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับในตอนกลางวันจะมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานในที่โล่ง ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดเพื่อป้องกันผิวไหม้เกรียม แต่เสื้อผ้าควรระบายอากาศ ได้ดี และควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร ตะวันออก อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของเฉียงเหนือ ภาคตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเครียด อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศ หรือใช้วัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปไว้ในโรงเรือน เมื่อน้ำระเหยก็จะนำความร้อนออกไปบางส่วนทำให้อุณหภูมิรอบข้างลดลง สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพราะหากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง กลาง อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตะวันตกของภาคตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิในโรงเรือน โดยติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศ หรือฉีดน้ำบริเวณหลังคาโรงเรือน หรือฉีดน้ำเป็นฝอยบริเวณโรงเรือน หรือใช้วัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปไว้ในโรงเรือน เมื่อน้ำระเหยก็จะนำความร้อนออกไปบางส่วนทำให้อุณหภูมิรอบข้างลดลง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเครียด อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่
หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน ตะวันออก อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด
25 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้ สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ และไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่นและเน่าเสียกองอยู่ในบริเวณสวนแต่ควรนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % - ระยะนี้อากาศร้อน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้ สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรงดให้น้ำจนกว่าจะเห็นดอกชัดเจนแล้วจึงค่อยให้น้ำโดยให้ในปริมาณน้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 25 - 31 มีนาคม 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคกลางในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนส่วนมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 15-20 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ส่วนมากทางตอนล่างของภาค กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 26 และวันที่ 29 มี.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ พิจิตร และพิษณุโลก ในวันที่ 26 และ 29 มี.ค. และจังหวัดกำแพงเพชร ในวันที่ 29 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันที่ 26 มี.ค. มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบางพื้นที่บริเวณจังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู ขอนแก่น สุรินทร์ เลย มหาสารคาม นครราชสีมา ชัยภูมิ หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ นครพนม อุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 26-30 มี.ค. อีกทั้งมีรายงานลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดบึงกาฬ เลย อุดรธานี หนองคาย ร้อยเอ็ด และนครราชสีมา ในวันที่ 28 มี.ค. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 28 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ ในระหว่างวันที่ 26-29 มี.ค. กับมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 26 มี.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุทัยธานี ในวันที่ 26 มี.ค. กับมีรายงานลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดลพบุรี ในวันที่ 26 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 29 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนทั่วไปในระยะต้นและกลางสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 15-50 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 26 และวันที่ 29 มี.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพังงา ในวันที่ 30 มี.ค.
สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดมหาสารคาม ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระแก้ว ปัตตานี ยะลา และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา