พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 5 - 11 เมษายน พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Friday April 5, 2024 14:54 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 5 - 11 เมษายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 42/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 5-7 เม.ย. หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป

ในช่วงวันที่ 5-9 เม.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่วนลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 เม.ย. ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับ

ในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่ และฟ้าผ่า เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 6-8 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39-43 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของไรแดงแอฟริกันในพืชตระกูลส้ม เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้ง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 6-7 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมเฉียงเหนือ กระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนและลมให้แก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

กลาง ในช่วงวันที่ 6-8 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะนี้อยู่ในช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 6-8 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมี

ลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในวันที่ 9-11 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรทำสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-40 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 5-9 เม.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในวันที่ 10-11 เม.ย. ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 5-9 เม.ย. ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในวันที่ 10-11 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง บริเวณซึ่งมีฝนตกต่อเนื่องเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ RR

ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม - 4 เมษายน 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดต่อเนื่องในหลายพื้นที่ โดยมีรายงานฝน ส่วนมากในระยะต้นช่วง ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ส่งผลให้ภาคใต้มีฝน ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดต่อเนื่องในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 15 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก และจังหวัดกำแพงเพชร ในวันที่ 29-30 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นช่วง จากนั้นมีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดต่อเนื่องหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 25-40 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นช่วง นอกจากนี้มีรายงาน ลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญและมหาสารคาม ในวันที่ 29 มี.ค. นครพนม บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ และหนองคาย ในระหว่างวันที่ 29-30 มี.ค. อุบลราชธานี ในวันที่ 29-31 มี.ค. และอุดรธานี ในวันที่ 30 มี.ค. กับวันที่ 1 เม.ยภาคกลาง มีอากาศร้อนทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันแรกของช่วง ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนส่วนมากทางตอนบนของภาคตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในวันที่ 2 เม.ย. โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ ในระยะครึ่งแรกของช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 29-30 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางแห่งในวันที่ 2 เม.ย. โดยมีฝนร้อยละ 15-40 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง ในระหว่างวันที่ 30-31 มี.ค. และวันที่ 2 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนทั่วเกือบทั่วไปตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนบางพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพังงา ในวันที่ 30 มี.ค.

ในช่วงที่ผ่านมาไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พิจิตร สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา พังงา และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ