พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 10 เมษายน 2567

ข่าวทั่วไป Wednesday April 10, 2024 06:45 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 10 เมษายน 2567

พยากรณ์อากาศประจำวัน

ลักษณะอากาศทั่วไป

10 เมษายน 2567

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้แล้ว ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านประเทศเมียนมาและตอนบนของภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตราย จากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมในบริเวณดังกล่าวมีกำลังอ่อน

ออกประกาศ 10 เมษายน 2567

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย

06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งและลูกเห็บตกบางแห่ง

ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก

อุณหภูมิต่ำสุด 21-28 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 37-43 องศาเซลเซียส

ลมใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.?

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และลูกเห็บตกบางแห่ง

ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และนครราชสีมา

อุณหภูมิต่ำสุด 21-28 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง

ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม

อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 38-42 องศาเซลเซียส

ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง

ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี และระยอง

อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

อากาศร้อนโดยทั่วไปในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่

ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส

ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎ์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่

ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา และกระบี่

อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง

อุณหภูมิต่ำสุด 28-29 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส

ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ออกประกาศ 10 เมษายน 2567

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ