พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 10 - 16 เมษายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 44/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10 - 11 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านประเทศเมียนมาและภาคเหนือตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 16 เม.ย. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ขอให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานานและระบายความร้อนภายในโรงเรือนเพื่อลดอุณหภูมิให้แก่สัตว์เลี้ยง รวมทั้งเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม โดยในช่วงวันที่ 10 - 11 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 10 - 11 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 16 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 - 43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 10 ชม. - ในช่วงวันที่ 10 - 11 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง ส่วนชาวสวนผลไม้ควรสำรวจและดูแลวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งลำต้นของไม้ผล ให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง อีกทั้งผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ สำหรับบางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ส่วนสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน รวมทั้งควรระวังป้องกันอัคคีภัยและไฟป่า ตะวันออก ในช่วงวันที่ 11 - 16 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ เฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานและดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งทำให้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการคายระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ส่วนเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลสภาพน้ำให้สมดุลกับปริมาณของสัตว์น้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลบอาศัยอยู่ภายในบ้านเรือนและไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งหรือใต้ต้นไม้ใหญ่ เพราะสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายได้ กลาง ในช่วงวันที่ 11 - 16 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 32 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39 - 41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานเพราะอาจเป็นโรคลมแดดได้ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดความร้อนภายในโรงเรือน โดยติดตั้งที่บังแดดเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ได้รับความร้อนจากแสงแดดโดยตรง หรือ ติดตั้งพัดลมระบายอากาศในโรงเรือนเพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก หรือ ฉีดน้ำบริเวณหลังคาเพื่อลดความร้อนในโรงเรือน เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 11 - 16 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ในช่วงที่ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมรวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 40 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 10 - 11 เม.ย. ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 16 เม.ย. ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 39 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 10 - 11 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่
12 - 16 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรและอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพาราหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน สำหรับปริมาณฝนที่มีน้อยในระยะนี้ ทำให้ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรตลอดช่วงแล้ง ส่วนเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลสภาพน้ำให้สมดุลกับปริมาณของสัตว์น้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย NT ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 3 - 9 เมษายน 2567 ในช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม โดยวัดปริมาณฝนสูงสุด ได้ 55.0 มิลลิเมตร ที่อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 9 เมษายน
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา