พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 48/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ประกอบกับมีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ตลอดช่วง สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 19 - 21 เม.ย. ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 25 เม.ย. ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ขอให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานานและระบายความร้อนภายในโรงเรือนเพื่อลดอุณหภูมิให้แก่สัตว์เลี้ยง รวมทั้งเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ช่วงนี้สภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถป้องกันแดด และดื่มน้ำเย็นบ่อยๆเพื่อช่วยลดอุณหภูมิความร้อนที่สะสมในร่างกายป้องกันโรคลมแดด อีกทั้งบางพื้นที่ที่มีวัชพืชแห้งทับถม ควรระวังป้องกันการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยควรทำแนวกันไฟป้องกันไฟไว้โดยรอบพื้นที่เพาะปลูก สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งทำให้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการคายระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ตะวันออก อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงเฉียงเหนือ บางแห่งตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 31 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 - 43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ควรฉีดน้ำบริเวณหลังคาและเปิดพัดลมระบายความร้อนภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อลดอุณหภูมิป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ส่วนเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลสภาพน้ำให้สมดุลกับปริมาณของสัตว์น้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลบอาศัยอยู่ภายในบ้านเรือนและไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งหรือใต้ต้นไม้ใหญ่ เพราะสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายได้ ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วไม่ควรตากไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ กลาง อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานเพราะอาจเป็นโรคลมแดดได้ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดความร้อนภายในโรงเรือน โดยติดตั้งที่บังแดดเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ได้รับความร้อนจากแสงแดดโดยตรง หรือ ติดตั้งพัดลมระบายอากาศในโรงเรือนเพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก หรือ ฉีดน้ำบริเวณหลังคาเพื่อลดความร้อนในโรงเรือน เป็นต้น สำหรับบางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น
ตะวันออก อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของ
พื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 26 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 42 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดและมีลมกระโชกแรง ชาวสวนผลไม้ควรสำรวจดูแลวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งลำต้นของไม้ผล ให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ในช่วงที่ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน สำหรับในช่วงที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก รวมทั้งหนอนเจาะผลทุเรียน ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะเจาะเข้าไปในเมล็ด กัดกินอยู่ภายในและถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อน ส่งผลให้ผลผลิตทุเรียนเสียหาย ใต้
20 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาค ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 22 - 25 เม.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32 - 40 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 19 - 21 เม.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 25 เม.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานเพื่อป้องกันโรคลมแดด สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรและอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพาราหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน สำหรับปริมาณฝนที่มีน้อยในระยะนี้ ทำให้ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรตลอดช่วงแล้ง ส่วนเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลสภาพน้ำให้สมดุลกับปริมาณของสัตว์น้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย NT ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 12 - 18 เมษายน 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน โดยมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวตลอดช่วง ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบนในระยะกลางและปลายช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ในขณะที่เกิดพายุฤดูร้อนหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนบางพื้นที่
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 12 และวันที่ 14 เม.ย. มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดพะเยา เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ลำพูน ตาก น่าน ลำปาง พิษณุโลก พิจิตร เชียงราย กำแพงเพชร และแพร่ ในระหว่างวันที่ 12-17 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 14 และวันที่ 16 เม.ย. และนี้มีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร เลย บึงกาฬ ชัยภูมิ และมุกดาหาร ในวันที่ 14-16 และวันที่ 18 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 14-15 เม.ย. และนี้มีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี สระบุรี ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 12-13 และวันที่ 16 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง และนี้มีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 14 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันที่ 14 วันที่ 15 วันที่ 17 และ 18 เม.ย. โดยมีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะต้นและปลายช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 17 เม.ย.
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ สกลนคร กาญจนบุรี และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา