พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 28 เมษายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 49/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศ/ ร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง กับลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 22-25 เม.ย. 67 ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ตอนบน ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง ภาคใต้ตอนล่าง และทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคใต้ฝั่งตะวันตก คำเตือน จากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ขอให้เกษตรกรดูแลสุขภาพ โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน โดยในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22-23 และ 26-28 เม.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 8-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเป็นโรคลมแดด รวมทั้งระวังการเกิดอัคคีภัยไว้ด้วย นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น ศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ โดยในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. ขอให้เกษตรกรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกไว้ด้วยตะวันออก อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22-23 และ 26-28 เม.ย. 67 มีฝนฟ้าเฉียงเหนือ คะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 8-10 ชม. - จากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเป็นโรคลมแดด รวมทั้งควรระวังการเกิดอัคคีภัย โดยหลีกเลี่ยงการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น โดยในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. ขอให้เกษตรกรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกไว้ด้วย กลาง อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22-23 และ 26-28 เม.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65% ความยาวนานแสงแดด 8-10 ชม.
- จากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเป็นโรคลมแดด เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง ทำให้การระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสมและคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืช เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินแล้วยังช่วยรักษาความชื้นในดิน นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของจำพวกศัตรูพืชเพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย โดยในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. ขอให้เกษตรกรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ตะวันออก อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22-23 และ 26-28 เม.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 26-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-42 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 8-10 ชม. - จากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเป็นโรคลมแดด รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ เป็นต้น โดยในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. ขอให้เกษตรกรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรปรับลดปริมาณการเลี้ยงลง เพื่อป้องกันความแออัด เนื่องจากในช่วงฤดูร้อนปริมาณการระเหยของน้ำมีมาก รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 23-28 เม.ย. 67 ตั้งแต่ จ. สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ. นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22-25 เม.ย. 67 ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 เม.ย. 67 ตั้งแต่ จ. ภูเก็ต ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ. กระบี่ ลงไป ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - จากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในตอนกลางวัน และมีฝนบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนและปากดูด(เพลี้ยและไร) เช่น หนอนเจาะผลในทุเรียน เพลี้ยไฟฝ้ายในพืชตระกูลแตง และเพลี้ยแป้งในเงาะ เป็นต้น สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ปริมาณมีน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม และคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืช เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินแล้วยังช่วยรักษาความชื้นในดิน
PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 15 - 21 เมษายน 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน โดยมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบนในระยะต้นและกลางสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ในขณะที่เกิดพายุฤดูร้อนหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันเกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาคตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ และมีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดพะเยา เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ตาก น่าน ลำปาง พิจิตร เชียงราย กำแพงเพชร และสุโขทัย ในช่วงวันที่ 15-19 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 16 เม.ย. และนี้มีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร เลย บึงกาฬ ชัยภูมิ มุกดาหาร อุดรธานี หนองบัวลำภู นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม และสุรินทร์ ในช่วงวันที่ 15-20 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ และนี้มีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 16 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดทางตอนบนของภาคตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-15 ของพื้นที่ โดยเฉพาะในวันที่ 20 เม.ย. มีฝนร้อยละ 45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนทั่วไปในระยะต้นและกลางสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 15-25 ของพื้นที่ในระยะกลางและปลายสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันที่ 20 เม.ย. มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 17 และวันที่ 20 เม.ย.
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนักได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน สกลนคร กาญจนบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา