พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Friday April 26, 2024 15:18 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 51/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ตลอดช่วง สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 26 - 29 เม.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันตกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพไว้ด้วย โดยหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนในบางพื้นที่จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาคตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37 - 44 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรควรดื่มน้ำบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนโดยติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศหรือฉีดน้ำบริเวณโรงเรือน รวมทั้งควรเพิ่มน้ำกินสำหรับสัตว์ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ รวมทั้งควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน และควรทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผลควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ตะวันออก อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางเฉียงเหนือ แห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาคตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39 - 44 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดื่มน้ำบ่อยๆและไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนโดยติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศหรือนำวัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปไว้ในโรงเรือน และควรเพิ่มน้ำกินสำหรับสัตว์ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำ รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน กลาง อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาคตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 - 43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดื่มน้ำบ่อยๆและควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนโดยติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศหรือฉีดน้ำบริเวณหลังคาโรงเรือน และควรเพิ่มน้ำกินสำหรับสัตว์ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับปริมาณน้ำ

ที่ระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่

กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 26 - 29 เม.ย. ลมใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 42 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดื่มน้ำบ่อยๆและควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ อนึ่ง ไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่นและเน่าเสียกองอยู่ในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัดนอกสวน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 26 - 29 เม.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. 67 ลมตะวันตก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 40 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 26 - 29 เม.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % - ระยะนี้จะมีอากาศร้อน เกษตรกรควรดื่มน้ำบ่อยๆและควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ อนึ่ง ไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรรอให้เห็นดอกชัดเจนก่อนจึงค่อยให้น้ำโดยให้ในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มขึ้น AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง โดยมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกในวันแรกของช่วง จากนั้นมีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน กับมีแนวสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะปลายช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดตลอดช่วง โดยเฉพาะในระยะครึ่งหลังของช่วงมีอากาศร้อนจัดต่อเนื่องติดต่อกันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งเกิดพายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะต้นและปลายช่วง สำหรับภาคใต้ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ และมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนเกือบตลอดช่วงกับมีฝนหนักบางพื้นที่

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดต่อเนื่องในหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ในวันแรกกับในระยะครึ่งหลังของช่วง อีกทั้งมีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดน่าน ในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. จังหวัดสุโขทัย ในวันที่ 19 และวันที่ 24 เม.ย. จังหวัดเชียงราย และพะเยา ในช่วงวันที่ 19-20 กับ 24-25 เม.ย. จังหวัดตาก กำแพงเพชร และแม่ฮ่องสอน ในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนจัดต่อเนื่องติดต่อกัน โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภู นครราชสีมา อุดรธานี บึงกาฬ มหาสารคาม และสุรินทร์ ในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. จังหวัดอุดรธานี บึงกาฬ และชัยภูมิ ในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 22-23 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดทางตอนบนของภาคตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ โดยเฉพาะในวันที่ 20 เม.ย. มีฝนร้อยละ 45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยเฉพาะในวันที่ 20 เม.ย. มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง

ช่วงที่ผ่านมาภาคใต้ มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา พังงา ตรัง และสตูล โดยวัดปริมาณสูงสุด วัดได้ 82.6 มม. ที่ อ.ควนกาหลง จ.สตูล เมื่อวันที่ 20 เม.ย.

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ