พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 53/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 1-4 พ.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะ/ เช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 3-5 พ.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันตกยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คำเตือนในช่วงวันที่ 1-4 พ.ค. ขอให้เกษตรกรดูแลและรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน โดยในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อพืชผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 1-2 พ.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 3-5 พ.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-44 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - จากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีและดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ โดยในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรเตรียมดินให้พร้อม เมื่อฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูก ตะวันออก ในช่วงวันที่ 1-2 พ.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของเฉียงเหนือ พื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 3-5 พ.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39-44 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - จากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน รวมทั้งระวังการเกิดอัคคีภัยและไฟป่าไว้ด้วย โดยในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายที่จะมีต่อพืชผลทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรเตรียมดินให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูก กลาง ในช่วงวันที่ 1-3 พ.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ในช่วงวันที่ 4-5 พ.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-44 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65% ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - จากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเป็นโรคลมแดด โดยในช่วงวันที่ 4-5 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายที่จะมีต่อพืชผลทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ขณะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก ตะวันออก ในช่วงวันที่ 1-3 พ.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 4-5 พ.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 1-3 พ.ค. จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเป็นโรคลมแดด ส่วนในช่วงวันที่ 4-5 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายที่จะมีต่อพืชผลทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ควรดูแลการผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อลดความเสียหายจากสภาวะลมแรง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อเลี้ยงให้เป็นเนื้อเดียวกันป้องกันการน็อคน้ำ และเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 1-5 พ.ค. 67 อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 34-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 1-3 พ.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 พ.ค. 67 จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - จากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเป็นโรคลมแดด สำหรับฝนที่ตกและหยุดสลับกันในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ และไม้ผล ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำ หลังจากฝนตก ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 24 - 30 เมษายน 2567 มีรายงานฝนตกหนักในภาคใต้ บริเวณจังหวัดสงขลา พังงา และสตูล โดยวัดปริมาณฝนสูงสุด ได้ 70.0 มิลลิเมตร ที่ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 28 เมษายน
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา