พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday May 6, 2024 14:54 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 55/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ค. จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พาดผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 8 - 12 พ.ค. แนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 6 - 12 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง และเข้าใกล้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และป้ายโฆษณาสูงๆขณะฝนฟ้าคะนอง สำหรับบางพื้นที่จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 12 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อนอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนในบางพื้นที่จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูก และไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป เพราะอาจทำให้มีความชื้นสะสมในแปลงปลูก สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงแต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึมรวมทั้งซ่อมแซมแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมทั้งมีเฉียงเหนือ ฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 12 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อนอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนบางพื้นที่อาจมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้ง ขณะฝนฟ้าคะนอง รวมทั้งดูแลหลังคาโรงเรือนซ่อมแซมแผงกำบังฝนสาด ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงเพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ กลาง ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 12 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อนอากาศแปรปรวนโดยมีอากาศร้อนสลับกับฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนในบางพื้นที่จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูก และไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป เพราะอาจทำให้มีความชื้นสะสมในแปลงปลูก สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา และควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงแต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึมรวมทั้งซ่อมแซมแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบาง

พื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 12 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนบางพื้นที่อาจมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงเพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยให้เปลือกผลไม้และผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นกองอยู่ในบริเวณสวนแต่ควรนำไปกำจัดนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 28 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อนอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนบางพื้นที่อาจมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงเพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ นอกจากนี้เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 5 พฤษภาคม 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว กับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือในวันที่ 3-4 พ.ค. ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนอบอ้าว

โดยทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางยังคงมีอากาศร้อนจัดส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีฝนหนักบางพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันตกพัดปกคลุมทะเลอันดามันในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 2-3 พ.ค. และมีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดน่าน ในวันที่ 29 เม.ย. และวันที่ 1-3 พ.ค. จังหวัดพะเยา ในวันที่ 29 เม.ย. และวันที่ 2-3 พ.ค. จังหวัดลำปาง เชียงใหม่ กำแพงเพชร ตาก ลำพูน อุตรดิตถ์ และเชียงราย ในวันที่ 1-3 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะกลางและปลายสัปดาห์ กับมีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดสกลนครและหนองบัวลำภู ในวันที่ 1-3 พ.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ โดยในวันที่ 4 พ.ค. มีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 1-3 พ.ค. ภาคตะวันออก อากาศร้อนจัดทางตอนบนของภาค ส่วนทางตอนล่างของภาคมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งหลังของช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 10-25 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 2 และวันที่ 5 พ.ค.

          สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสงขลา ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนักได้แก่ น่าน อุตรดิตถ์ เลย หนองคาย       สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ชัยนาท ลพบุรี กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา          ตรัง และสตูล



ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ