พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 15 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Wednesday May 15, 2024 13:22 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 15 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ฉบับที่ 59/2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16 - 17 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางจะพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร หลังจากนั้นในวันที่ 20 - 21 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมา ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 15 - 17 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งและไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 พ.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงปลูก

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 15 - 19 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 41 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 17 พ.ค. ลมใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 6 ชม. - ในช่วงวันที่ 15-19 พ.ค. จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถป้องกันแดด และดื่มน้ำเย็นบ่อยๆเพื่อช่วยลดอุณหภูมิความร้อนที่สะสมในร่างกายป้องกันโรคลมแดด หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 20 -21 พ.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำในแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังโคนต้นพืชนาน และสำหรับผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว รวมทั้งระวังความชื้นที่สะสมในโรงเก็บที่อาจทำให้เกิดเชื้อราไว้ด้วย ส่วนฝนที่ตกหนักในบางแห่ง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ให้นำไปพักในบ่อพักก่อนจึงค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 16 - 18 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางเฉียงเหนือ แห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 15 - 17 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึมและดูแลแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกชื้นหนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับบางพื้นที่จะมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งหรือใต้ต้นไม้ใหญ่เพื่อป้องกันอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ให้นำไปพักในบ่อพักก่อน จึงค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงเพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ กลาง ในช่วงวันที่ 15 - 17 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง และในช่วงวันที่ 20 - 21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 6 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อนโดยมีอากาศร้อน ส่วนในบางพื้นที่จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 20 - 21 พ.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงแต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อน แล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ สำหรับบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรชะลอการปลูกพืช และรอให้ฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูก ตะวันออก ในช่วงวันที่ 15 - 17 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก

บางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร และในช่วงวันที่ 20 - 21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ชาวสวนผลไม้ควรสำรวจดูแลวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งลำต้นของไม้ผล ให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยให้เปลือกผลไม้และผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นกองอยู่ในบริเวณสวนแต่ควรนำไปกำจัดนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช นอกจากนี้เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงแต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อน แล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 16 - 18 และ 21 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 19 - 20 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 15 - 17 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 20 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในวันที่ 21 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 16 - 17 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./

ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 20 - 21 พ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 18 - 20 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ในช่วงวันที่ 21 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกหนักมากได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงเพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน แต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ นอกจากนี้เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรครากขาว และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น อนึ่ง ในวันที่ 21 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ NT ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 12 - 18 เมษายน 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน โดยมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวตลอดช่วง ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบนในระยะกลางและปลายช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ในขณะที่เกิดพายุฤดูร้อนหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนบางพื้นที่

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 12 และวันที่ 14 เม.ย. มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดพะเยา เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ลำพูน ตาก น่าน ลำปาง พิษณุโลก พิจิตร เชียงราย กำแพงเพชร และแพร่ ในระหว่างวันที่ 12-17 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 14 และวันที่ 16 เม.ย. และนี้มีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร เลย บึงกาฬ ชัยภูมิ และมุกดาหาร ในวันที่ 14-16 และวันที่ 18 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 14-15 เม.ย. และนี้มีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี สระบุรี ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 12-13 และวันที่ 16 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง และนี้มีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 14 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันที่ 14 วันที่ 15 วันที่ 17 และ 18 เม.ย. โดยมีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะต้นและปลายช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 17 เม.ย.

          ระหว่างวันที่ 8 - 14 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัด พิษณุโลก เลย สกลนคร ขอนแก่น ศรีสะเกษ      อ่างทอง กาญจนบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา และจันทบุรี ส่วนจังหวัดที่มีฝนหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ น่าน          อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด      มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี    พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง        พังงา ตรัง และสตูล



ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ