พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday May 27, 2024 15:44 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 64/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 28 พ.ค.-2 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน / ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ขอให้เกษตรกร ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 27-29 พ.ค. 67 และ 1-2 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 30-31 พ.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกต่อเนื่องจะทำให้ในดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าคอดิน โรคราสนิมขาวในผัก และโรคเหี่ยว เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 27-29 พ.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-เฉียงเหนือ 37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 30 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 30 พ.ค. - 2 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่การเกษตรที่เป็นลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืชเมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย กลาง ในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 29 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 29 พ.ค. - 2 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำและยกร่องแปลงปลูกให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันน้ำท่วม สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกต่อเนื่อง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรสำรวจโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึมรวมทั้งควรติดตั้งแผงกำบังฝนสาด เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 29 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 29 พ.ค. - 2 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ โดยพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูก และระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 27-29 พ.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 30 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 27-29 พ.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตั้งแต่ จ.พังงา ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ลงไป ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.กระบี่ ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 30 พ.ค. - 2 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกต่อเนื่องจะส่งผลให้ดินเปียกแฉะและมีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราไว้ด้วย ส่วนบริเวณที่มีฝนน้อยเกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤษภาคม 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยในช่วงปลายสัปดาห์มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงได้พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนในระยะต้นและกลางสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีรายงานน้ำท่วมบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์

อนึ่ง พายุไซโคลน "ริมาล (Remal,01B)" บริเวณอ่าวเบงกอล พายุลูกนี้ได้พัฒนาตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลางซึ่งต่อมาได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในวันที่ 24 พ.ค. และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน "ริมาล (Remal,01B)" เมื่อเวลา 19.00 น. ของวันที่ 25 พ.ค. เคลื่อนตัวอยู่บริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 60-95 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่น่าน แพร่ พะเยา และลำปาง ในวันที่ 20-21 พ.ค. อีกทั้งมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 20 พ.ค. จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 21 พ.ค. และจังหวัดตาก ในวันที่ 23-24 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยเฉพาะในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุรินทร์ ในวันที่ 20 พ.ค. จังหวัดอำนาจเจริญ ในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. และจังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 23 พ.ค. อีกทั้งมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเลย และนครราชสีมา ในวันที่ 21 พ.ค. และจังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 22 พ.ค. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 20 วันที่ 24 และวันที่ 26 พ.ค. มีฝนร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 21-22 พ.ค. อีกทั้งมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 21 พ.ค. ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 21 พ.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชลบุรีและฉะเชิงเทรา ในวันที่ 21 พ.ค. และจังหวัดระยอง ในวันที่ 23 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 22 พ.ค. มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 75-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ตาก เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ลพบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา ระยอง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ