พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 66/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลางตลอด/ ช่วง ในขณะที่พายุดีเปรสชันปกคลุมบริเวณด้านตะวันออกของเกาะไหหนาน ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 2-6 มิ.ย. 67 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนืออย่างช้า ๆ คาดว่าจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในระยะต่อไป และมีแนวโน้มเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนในคืนวันนี้ (31 พ.ค. 67) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับคำเตือน ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 2 มิ.ย. ขอให้เกษตรกร ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มและลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกชุก โดยมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสภาพโรงเรือน โดยเฉพาะบริเวณพื้นคอกไม่ให้เปียกชื้น เพราะอาจส่งผลให้สัตว์เจ็บป่วยได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากเฉียงเหนือ บางพื้นที่ทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 1 มิ.ย. 67 ส่วนในช่วงวันที่ 3-6 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 1 มิ.ย.จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย กลาง ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3-6 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงน้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผักไว้ด้วย
ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 1 มิ.ย. 67 อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้มีฝนตกชุกหนาแน่น โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 1 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยบริเวณพื้นที่ลุ่มเกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง จากสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงในระยะนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 1/2 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3-6 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 1 มิ.ย. 67 ส่วนในช่วงวันที่ 3-6 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดตรังลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันจะทำให้ดินเปียกชื้นและบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า และโรคผลเน่าไม้ผล เป็นต้น ส่วนบริเวณที่มีฝนน้อย เกษตรกรควรระวังศัตรูจำพวกหนอนในพืชไร่ และไม้ผล สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
PK ระหว่างวันที่ 24 - 30 พฤษภาคม 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดช่วง โดยมีกำลังค่อนข้างแรงและพัดปกคลุมด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลางในช่วงวันที่ 25-27 พ.ค. ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคกลางและอ่าวตังเกี๋ยในวันแรกของช่วง และปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในระยะครึ่งหลังของช่วง นอกจากนี้หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเกือบตลอดช่วง โดยเฉพาะในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วงมีฝนหนักในหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนส่วนมากในระยะปลายช่วง
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 70-95 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 28 และ 30 พ.ค. มีฝนร้อยละ 35-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง และมีฝนถึงหนักมากบางพื้นที่ในวันแรกของช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร ในวันที่ 26 พ.ค. และจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 30 พ.ค. อีกทั้งมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตาก ในวันที่ 23-24 พ.ค. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 28 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกและระยะปลายช่วง กับมีฝนหนักมากพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วง ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 40-75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 28-29 พ.ค. มีฝนร้อยละ 15 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกและระยะปลายช่วง ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 27-28 พ.ค. มีฝนร้อยละ 15 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 25 และวันที่ 30 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 10-15 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 25 วันที่ 29 และวันที่ 30 พ.ค. มีฝนร้อยละ 55-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 29 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 27 และวันที่ 30 พ.ค. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 27 พ.ค.
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ตาก เลย อุดรธานี นครพนม กรุงเทพมหานคร จันทบุรี และตราด ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู สกลนคร ชัยภูมิ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส และตรัง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา