พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 3 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday June 3, 2024 15:18 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 3 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 67/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3 - 9 มิถุนายน 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับในช่วงวันที่ 3 - 4 มิ.ย. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 9 มิ.ย. 67

บริเวณทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ระยะนี้ประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงปลูก และ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 3 - 7 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 5 - 6 มิ.ย. ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 6 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูฝน ในหลายพื้นที่จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยในช่วงวันที่ 5 - 6 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินจากความเสียหายที่จะเกิดจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรทำทางระบายน้ำในแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังโคนต้นพืชนาน ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว รวมทั้งระวังความชื้นที่สะสมในโรงเก็บที่อาจทำให้เกิดเชื้อราได้อีกด้วย ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 เฉียงเหนือ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน อีกทั้งควรหมั่นสำรวจหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึมและดูแลแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกชื้นหนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งหรือใต้ต้นไม้ใหญ่เพื่อป้องกันอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง สำหรับบางพื้นที่ที่ฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ ควรนำเมล็ดพันธ์ควรคลุกด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อราก่อนปลูก เพื่อป้องกันการเน่าของเมล็ดก่อนงอกและโรคเน่าคอดินในระยะต้นกล้า กลาง ในช่วงวันที่ 4 - 6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณด้านตะวันตกของภาคในช่วงวันที่ 4 - 5 มิ.ย. ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. - ระยะนี้ในหลายพื้นที่จะมีฝนตกหนัก โดยในช่วงวันที่ 4-5 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินจากความเสียหายที่จะเกิดจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อน แล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 4 - 5 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว

          15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่        6 - 9 มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29             องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 %  ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม.   - ในช่วงนี้ จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ ส่วนชาวสวนผลไม้ควรสำรวจดูแลวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งลำต้นของไม้ผล ให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงแต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อน แล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 3 - 4 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 9 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 3 - 4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดตรังลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ เกษตรกรควรสำรวจทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ สำหรับสำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรครากขาว และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง  NT ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นเคลื่อนมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน นอกจากนี้ พายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้ตอนกลางได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "มาลิกซี (MALIKSI,2402)" ในวันที่ 31 พ.ค จากนั้นได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนในวันที่ 1 มิ.ย. ก่อนอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นหลายพื้นที่โดยเฉพาะในระยะกลางและปลายสัปดาห์ อนึ่ง พายุไซโคลน "ริมาล (REMAL,01B)" บริเวณอ่าวเบงกอลได้เคลื่อนขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของประเทศบังคลาเทศ เมื่อเวลา 01.00 น. ของวันที่ 27 พ.ค. และได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในเวลาต่อมา

          ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 70-85 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 28 และ 30-31 พ.ค. มีฝนร้อยละ 35-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 29 พ.ค. และช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 1 มิ.ย. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 30 พ.ค. และจังหวัดพะเยา   ในวันที่ 31 พ.ค. อีกทั้งมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพะเยา น่าน เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 31 พ.ค. - 1 มิ.ย. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 28 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้น    อยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 35-75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่    2 มิ.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 15-45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 30 พ.ค. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่           ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ เว้นแต่ในช่วงวันที่ 30 พ.ค.-1 มิ.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดจันทบุรี ในวันที่ 31 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 55-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 29 พ.ค. และจังหวัดสงขลา ในวันที่ 31 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในช่วงวันที่ 28-29 พ.ค. มีฝนร้อยละ 25-35 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตรัง ในวันที่ 31 พ.ค. และวันที่ 2 มิ.ย.

ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัด นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น อุบลราชธานี กรุงเทพมหานคร นครปฐม ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เลย หนองคาย สกลนคร ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ