พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 69/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อม/ ความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 มิ.ย. 67 ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออก หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 11-13 มิ.ย. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้ขอให้เกษตรกร ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มและลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 9-11 มิ.ย. 67 อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - จากสภาวะอากาศที่มีฝนตกชุกในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าคอดินในต้นกล้า โรคแอนแทรคโนสในพริก และโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรดูแลสภาพโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นคอกไม่เปียกชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่มีแหล่งน้ำเป็นของตนเองควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เนื่องจากในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมอาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงได้ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย. และ 11-13 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ เฉียงเหนือ 9-10 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 9-10 มิ.ย.ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่มีแหล่งน้ำเป็นของตนเองควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เนื่องจากในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมอาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงได้ กลาง ในวันที่ 8 มิ.ย. และ 11-13 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ในช่วงวันที่ 9-10 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรดูแลสภาพโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นคอกไม่เปียกชื้น และหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย. และ 11-12 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 9-10 มิ.ย. จะฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรเมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-13 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสงขลา ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-13 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดตรัง ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - จากสภาวะฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นแล้วเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
PK ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวเคลื่อนขึ้นไปปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ในระยะปลายช่วง ในขณะที่ พายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้ตอนกลางได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "มาลิกซี (MALIKSI,2402)" ในวันที่ 31 พ.ค จากนั้นได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนในวันที่ 1 มิ.ย. ก่อนอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยเฉพาะภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหลายพื้นที่ และมีฝนหนักเกือบตลอดช่วง
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 3 มิ.ย. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพะเยา ในวันที่ 31 พ.ค. อีกทั้งมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพะเยา น่าน และเชียงราย ในวันที่ 31 พ.ค. - 1 มิ.ย. จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 31 พ.ค. - 1 มิ.ย. และวันที่ 4 มิ.ย. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 3 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 3 และวันที่ 6 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 31 พ.ค. และวันที่ 5 มิ.ย. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 2 มิ.ย. และจังหวัดอำนาจเจริญ ในวันที่ 5 มิ.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 15-45 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นช่วง ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 50-80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในช่วงวันที่ 2-3 และวันที่ 6 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในระยะต้นช่วงและในวันที่ 4 มิ.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดจันทบุรี ในวันที่ 31 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสงขลา ในวันที่ 31 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตรัง ในวันที่ 31 พ.ค. และวันที่ 2 มิ.ย.
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น นครปฐม ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง และจันทบุรี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ ลพบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา