พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ฉบับที่ 73/2567
/
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 17 ? 23 มิถุนายน พ.ศ. 2567
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20?23 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 21?23 มิ.ย. 67 จะมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คาเตือน ระยะนี้ขอให้เกษตรกร ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มและลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน
คาแนะนาสาหรับการเกษตร
ภาค
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
เหนือ
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 21-23 มิ.ย. 67 อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10?20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่มควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกพืช เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย เนื่องจากในระยะต่อไปบางพื้นที่อาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงขึ้นได้ เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
ตะวันออก เฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 17-20 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30?40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40?70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณด้านตะวันออกของภาคในช่วงวันที่ 22-23 มิ.ย. 67 อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10?20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ในช่วงวันที่ 21-23 มิ.ย. จะฝนจะมีเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เนื่องจากในระยะต่อไปอาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงขึ้นได้ในบางพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน
กลาง
ในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20?40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10?20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20?23 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40?60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10?25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23?28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33?38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ในช่วงวันที่ 20-23 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผัก โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกักกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรดูแลโรงเรือนอย่าให้พื้นคอกเปียกชื้น หลังคาไม่มีรอยรั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝนจนอ่อนแอและจะเป็นโรคได้ง่าย
2
ตะวันออก
ในช่วงวันที่ 17?19 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30?40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15?30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร โดยในช่วงวันที่ 20?23 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 21?23 มิ.ย. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15?35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24?29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31?38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- ในช่วงวันที่ 20?23 มิ.ย. จะฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรเมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
ใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20?40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15?30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20?23 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40?60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15?35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23?28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32?38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40?60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15?35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15?30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20?23 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60?80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 21?23 มิ.ย. 67 ตั้งแต่จังหวัดระนอง ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20?35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงา ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15?35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23?29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29?36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ในช่วงวันที่ 20-23 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่เกษตรเมื่อมีฝนตกหนัก ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ในช่วงวันที่ จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 10 ? 16 มิถุนายน 2567 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและประเทศลาวในระยะต้นสัปดาห์ โดยพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในระยะต้นและปลายสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลางในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนภาคอื่นๆ มีฝนส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ในระยะต้นสัปดาห์และในวันที่ 14 มิ.ย. ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 10 และ 16 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในช่วงวันที่ 13-15 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดจันทบุรีในระยะต้นสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 45-55 ของพื้นที่ในระยะต้นและวันสุดท้าย
PK
3
ของสัปดาห์ ส่วนวันอื่นๆ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 10 และ 16 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่ ในระยะต้นและปลายสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในวันนวันที่ 10 และ 16 มิ.ย.
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี กรุงเทพมหานคร ตราด และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ชุมพร สงขลา พังงา ภูเก็ต และตรัง
สาหรับบริเวณที่มีฝนหนักและหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้
ภาคเหนือ
85.0
มม.
ที่
อ.บ่อเกลือ
จ.น่าน
เมื่อวันที่
16
มิ.ย.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
72.4
มม.
ที่
อ.หนองกี่
จ.บุรีรัมย์
เมื่อวันที่
16
มิ.ย.
ภาคกลาง
67.0
มม.
ที่
อ.ภาชี
จ.พระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันที่
16
มิ.ย.
ภาคตะวันออก
101.2
มม.
ที่
อ.โป่งน้ำร้อน
จ.จันทบุรี
เมื่อวันที่
10
มิ.ย.
ภาคใต้
171.1
มม.
ที่
อ.สุขสำราญ
จ.ระนอง
เมื่อวันที่
10
มิ.ย.
กรุงเทพมหานคร
99.5
มม.
ที่
โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
เขตคลองสามวา
เมื่อวันที่
16
มิ.ย.
หมายเหตุ
เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก
ปริมาณฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0
สอต. หมายถึง สถานีอุตุนิยมวิทยา, กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร
ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา
กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 17 ?23 มิถุนายน 2567
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ประมาณ 1ม.
ประมาณ 2 ม.
(20-23มิ.ย.)
40-60 %
30-70 %
20-60 %
30-70 %
10-80 %
ระยะต่อไป บางพื้นที่อาจเกิด
สภาวะฝนทิ้งช่วง ควรกักเก็นน้า
ระยะต่อไป บางพื้นที่อาจเกิด
สภาวะฝนทิ้งช่วง ควรกักเก็บน้า
ระวัง โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ไม่ปล่อยตกฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ
20-23 มิ.ย. จะมีฝนหนัก -หนักมาก
ระวัง น้าท่วมฉับพลัน น้าป่าไหลหลากฉบับที่73/2567
30-37
23-28
?ซ
32-38
23-28
?ซ
29-36
29-29
?ซ
32-38
23-28
?ซ
75-85 %
75-85 %
75-85 %
75-85 %
ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา
1-2ม.
1-2 ม.
5-8ชม.
5-8ชม.
4-7ชม.
5-8ชม.
ระวัง ศัตรูพืชจาพวกหนอน
ระวัง ศัตรูพืชจาพวกหนอน
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา