พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 75/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21 - 26 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีค่อนข้างแรง ประกอบกับจะมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางซึ่งมีแนวโน้มมีกำลังแรงขึ้นโดยมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปทางเกาะไหหลำ และอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออก เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงปลูก อนึ่ง ในช่วงวันที่ 21 - 26 มิ.ย.
บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอันดามันควรงดออกจากฝั่งถึงวันที่ 26 มิ.ย.
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 21 - 23 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 24 - 27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. - ระยะนี้หลายพื้นที่จะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรทำทางระบายน้ำในแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังโคนต้นพืชนานและระวังความชื้นสะสมทำให้เกิดเชื้อราในโรงเก็บผลผลิตไว้ด้วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตบริเวณโรงเรือนเพราะอาจมีสัตว์มีพิษหรือศัตรูสัตว์ เช่น งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น เข้ามาอาศัยหลบซ่อนในบริเวณโรงเรือนทำให้สัตว์เลี้ยงตื่นและอาจทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้ หากพบควรรีบจัดการให้ออกไปจากโรงเรือน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่เฉียงเหนือ โดยเฉพาะตอนบนและด้านตะวันออกในช่วงวันที่ 23 - 25 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน อีกทั้งควรสำรวจทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานานและหมั่นสำรวจหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึมและดูแลแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกชื้นหนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมถึงไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งหรือใต้ต้นไม้ใหญ่เพื่อป้องกันอันตรายในช่วงฝนฟ้าคะนอง กลาง ในช่วงวันที่ 21 - 26 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. หลังจากนั้นในวันที่ 27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ สำหรับบางพื้นที่ที่ฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ ควรคลุกเมล็ดพันธุ์และชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารกำจัดเชื้อราก่อนปลูกเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ตะวันออก ในช่วงวันที่ 21 - 26 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียง
ใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรหลังจากนั้นในวันที่ 27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม. - ระยะนี้ในหลายพื้นที่จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ ส่วนชาวสวนผลไม้ควรสำรวจดูแลวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งลำต้นของไม้ผล ให้มั่นคงแข็งแรง รวมทั้งระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น โดยดูแลแปลงปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมในพื้นที่การเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงแต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อน แล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรส่วนในวันที่ 26 - 27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 21 - 26 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร หลังจากนั้นในวันที่ 27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนในบางพื้นที่ที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกัน โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรครากขาว และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 21 - 26 มิ.ย. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า
3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอันดามันควรงดออกจากฝั่งถึงวันที่ 26 มิ.ย. NT ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 14 - 20 มิถุนายน 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีฝนตกตลอดช่วงกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 35-70 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วงจากนั้นมีฝนร้อยละ 30 ของพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 30-45 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วงจากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ตลอดช่วงกับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 16 วันที่ 18 และวันที่ 19 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะกลางและปลายช่วง กับมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 19 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 16-19 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วงจากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 65-85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในวัน 16 วันที่ 17 และ 20 มิ.ย.
ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานคร ตราด พังงา และภูเก็ต ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แพร่ น่าน พิจิตร เพชรบูรณ์ สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา