พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Wednesday June 26, 2024 13:50 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 77/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/ ตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยด้านตะวันตก และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 28 มิ.ย. - 2 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือนในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. 67 ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มและลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณตอนบนของภาคในวันที่ 26 มิ.ย. 67 ส่วนในช่วงวันที่ 28 มิ.ย. - 2 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. มีฝนตกชุกและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยบริเวณที่มีฝนตกต่อเนื่องเกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย ส่วนในช่วงวันที่ 28 มิ.ย. - 2 ก.ค. ปริมาณและการกระจายของฝนลดลง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในระยะที่มีฝนทิ้งช่วง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่เฉียงเหนือ บริเวณตอนบนและด้านตะวันออกของภาคในวันที่ 26 มิ.ย. 67 ส่วนในช่วงวันที่ 28 มิ.ย. - 2 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ โดยเฉพาะบริเวณที่ราบเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนในช่วงวันที่ 28 มิ.ย. - 2 ก.ค. ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 28 มิ.ย. - 2 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. มีฝนตกหนักบางพื้นที่ จากนั้นปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ดอก ไม้ผล และพืชผัก โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ในช่วงที่ฝนตกน้อยควรสำรวจซ่อมแซมโรงเรือนรวมทั้งตัดแต่งกิ่งไม้ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรือนเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของศัตรูสัตว์

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 28 มิ.ย. - 2 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. มีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว จากนั้นปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคยอดเน่ารากเน่าในสับปะรด โรคราดำในลองกอง เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะเพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 26-28 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 26-28 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินชื้นแฉะและมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราดำในลองกอง โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนบริเวณที่ฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 19 - 25 มิถุนายน 2567 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ อุตรดิตถ์ หนองคาย หนองบัวภู สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด ขอนแก่น นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครนายก จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แพร่ น่าน ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส ภูเก็ต ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ