พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Friday June 28, 2024 15:44 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 78/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 28 มิ.ย. - 2 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 ก.ค. ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 3-4 ก.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในวันที่ 3-4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพริก เช่น โรคเน่าเปียกและโรคแอนแทรคโนส เป็นต้น นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ตะวันออก ในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 เฉียงเหนือ ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนและลมให้แก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรระวังน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร กลาง ในช่วงวันที่ 28 มิ.ย. - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ตะวันออก ในช่วงวันที่ 28-30 มิ.ย. และในช่วงวันที่ 3-4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วน

ในช่วงวันที่ 1-2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราดำในลองกอง สำหรับบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 29-30 มิ.ย. และในช่วงวันที่ 3-4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ RR ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 21 - 27 มิถุนายน 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดช่วง ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะกลางและปลายช่วง โดยพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในระยะกลางช่วง นอกจากนี้ยังมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและทะเลจีนใต้ตอนกลางในระยะครึ่งแรกของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกตลอดช่วง โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง

ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในระยะต้นช่วงและในวันสุดท้ายของช่วง มีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงกับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 23 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 45 ของพื้นที่ในวันแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 22-23 มิ.ย. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ อีกทั้งมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเลยและหนองบัวลำภู ในวันที่ 26 มิ.ย. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลย ในวันที่ 22 มิ.ย. และจังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 23 มิ.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 15-45 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 25 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 22 วันที่ 23 และวันที่ 27 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-55 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 25-26 มิ.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราด ในวันที่ 22 กับวันที่ 24 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-85 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 22-24 และวันที่ 27 มิ.ย. ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง อีกทั้งมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดยะลา ในวันที่ 26 มิ.ย. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 22 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 25-26 มิ.ย. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง กับฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 22-23 มิ.ย. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดภูเก็ตและสตูล ในวันที่ 22 มิ.ย.

ในช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ อุตรดิตถ์ หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด ขอนแก่น นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครนายก จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย ลำพูน แพร่ น่าน ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ บุรีรัมย์

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ