พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2567

ข่าวทั่วไป Wednesday July 3, 2024 15:54 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ฉบับที่ 80/2567

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 3 - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ออกประกาศวันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 4 - 7 ก.ค. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากในบริเวณภาคเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 8 ? 9 ก.ค. ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศจีนตอนใต้ ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 4 ? 7 ก.ค. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาค

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

เหนือ

ในช่วงวันที่ 4 - 7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8 ? 9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ? 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 ? 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 ? 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับดินและอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม แผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียและร่วงหล่น ตลอดจนเปลือกผลไม้ให้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช อนึ่ง ระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกพืช เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกพืชนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้

ตะวันออก เฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4 ? 9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 ? 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 ? 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับดินและอากาศที่มีความชื้นสูงโดยเฉพาะทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น เช่น โรคไหม้ในข้าว โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม แผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนพื้นที่ซึ่งฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง ระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรดูแลพื้นที่การเกษตรให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก ป้องกันและลดความรุนแรงของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

กลาง

ในช่วงวันที่ 4 ? 7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ? 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8 ? 9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ? 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 ? 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 ?

26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 ? 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 5 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับดินและอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรสำรวจหลังคาโรงเรือน และแผงกำบังฝนสาด หากชำรุด เสียหายควรซ่อมแซมให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียและร่วงหล่น ตลอดจนเปลือกผลไม้ให้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช อนึ่ง ระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกพืช เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกพืชนานทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้

ตะวันออก

ในช่วงวันที่ 4 ? 9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ? 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 ? 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 ? 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 5 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับดินและอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บไว้ในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียและร่วงหล่น ตลอดจนเปลือกผลไม้ให้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช อนึ่ง ไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและขั้วผล แล้วทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา ใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วมีเวลาพักตัวได้นานขึ้น

ใต้

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 4 ? 9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ? 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 ? 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 ? 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 4 - 9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ? 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดระนอง ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คลื่นลมตั้งแต่จังหวัดพังงา ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 ? 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 %

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับดินและอากาศที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บไว้ในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น ส่วนทางฝั่งตะวันออกฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ อนึ่ง ระยะนี้ บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

AS

2

ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน ? 2 กรกฎาคม 2567 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน หนองคาย อุดรธานี มุกดาหาร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา ลพบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต และตรัง

สำหรับบริเวณที่มีฝนหนักและหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้

ภาคเหนือ

99.0

มม.

ที่

อ.บ่อเกลือ

จ.น่าน

เมื่อวันที่

29

มิ.ย.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

135.0

มม.

ที่

อ.เกษตรวิสัย

จ.ร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่

2

ก.ค.

ภาคกลาง

115.0

มม.

ที่

อ.ลำสนธิ

จ.ลพบุรี

เมื่อวันที่

29

มิ.ย.

ภาคตะวันออก

78.7

มม.

ที่

อ.แกลง

จ.ระยอง

เมื่อวันที่

29

มิ.ย.

ภาคใต้

130.0

มม.

ที่

อ.ไชยา

จ.สุราษฎร์ธานี

เมื่อวันที่

29

มิ.ย.

กรุงเทพมหานคร

60.5

มม.

ที่

โรงเรียนบ้านหนองระแหง

เขตคลองสามวา

เมื่อวันที่

26,30

มิ.ย.

เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก

ปริมาณฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0

สอต. หมายถึง สถานีอุตุนิยมวิทยา, กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร

กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา 3

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

คลื่นลม

ฝนฟ้าคะนอง

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคใต้

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร

02-399-2387 ; 02-366-9336

ความยาวนานแสงแดด 4-5 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 %

ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 %

ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 %

ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 %

ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 %

ระหว่างวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2567

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร7 วันข้างหน้า

ไม่ควร! ให้น้ำไหลลงบ่อโดยตรง

ระวัง!โรคเชื้อรา

ฉบับที่80 /67

1-2เมตร

1-2 เมตร

1-2เมตร

ระวัง!โรคเชื้อรา/แบคทีเรีย

ระวัง!โรคเชื้อรา

ควร! เดินเรือระมัดระวัง

ควร!ดูแลหลังคา/แผงกำบังฝน

ระวัง!โรคเชื้อรา

ระวัง!โรคเชื้อรา/แบคทีเรีย

ระวัง!หนอน

ควร!ดูแลหลังคา/แผงกำบังฝน

ระวัง!หนอน

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ