พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 5 - 11 กรกฎาคม 2567

ข่าวทั่วไป Friday July 5, 2024 15:05 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ฉบับที่ 81/2567

/

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 5 ? 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 5-7 ก.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ก.ค. 67 ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 10-11 ก.ค. 67 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยในช่วงวันที่ 5-9 ก.ค. 67 ทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 ก.ค. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คาเตือน ในช่วงวันที่ 5-7 ก.ค. 67 ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มและลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน

คาแนะนาสาหรับการเกษตร

ภาค

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

เหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันจะทำให้ในดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรคโนสในพืชผัก โรคราดำในไม้ผล เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย

ตะวันออก เฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

- ในสภาวะอากาศที่มีฝนตกชุกและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผักไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย

กลาง

ในวันที่ 5 และ 9-11 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกชุก และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะบริเวณที่ลุ่มและพื้นที่ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืชเมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย

2

ตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 5-9 ก.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 ก.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกชุก โดยมีฝนหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรเมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคยอดเน่ารากเน่าในสับปะรด โรคราดำในลองกอง โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย

ใต้

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 5-9 ก.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10?11 ก.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31?36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 5-9 ก.ค. 67 ตั้งแต่จังหวัดระนอง ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงา ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10?11 ก.ค. 67 ตั้งแต่จังหวัดพังงา ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24?26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกชุกและมีฝนตกหนักบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราดำในลองกอง โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะเพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน ? 4 กรกฎาคม 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วงโดยมีกำลังแรงขึ้นในวันสุดท้ายของช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนตลอดช่วง อีกทั้งในวันสุดท้ายของช่วงร่องมรสุมได้ พาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนหนาแน่นเกือบตลอดช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนหนาแน่นในระยะครึ่งแรกและในระยะปลายช่วง

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของช่วงกับมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 29 มิ.ย. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 28 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 50-90 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 50-80 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันที่ 1 และ 2 ก.ค. มีฝนร้อยละ 15-30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกและระยะปลายช่วง ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 75-95 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 28 มิ.ย. และ 2 ก.ค. มีฝนร้อยละ 50-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระยอง ในวันที่ 30 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 20-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 29-30 มิ.ย. และวันที่ 4 ก.ค. มีฝนร้อยละ 70-90 ของ

PK

3

พื้นที่ โดยมีฝนหนักบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 29 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 28 มิ.ย. และวันที่ 1-2 ก.ค. มีฝนร้อยละ 25 ของพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดภูเก็ตในวันที่ 29-30 มิ.ย. และจังหวัดพังงา ในวันที่ 30 มิ.ย.

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา ลพบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต และตรัง

สาหรับบริเวณที่มีฝนหนักและหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆและและกรุงเทพมหานคร มีดังนี้

ภาคเหนือ

99.0

มม.

ที่

อ.บ่อเกลือ

จ.น่าน

เมื่อวันที่

29

มิ.ย.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

251.3

มม.

ที่

อ.เมือง

จ.บึงกาฬ

เมื่อวันที่

1

ก.ค.

ภาคกลาง

115.0

มม.

ที่

อ.ลำสนธิ

จ.ลพบุรี

เมื่อวันที่

29

มิ.ย.

ภาคตะวันออก

78.7

มม.

ที่

อ.แกลง

จ.ระยอง

เมื่อวันที่

29

มิ.ย.

ภาคใต้

130.0

มม.

ที่

อ.ไชยา

จ.สุราษฎร์ธานี

เมื่อวันที่

29

มิ.ย.

กรุงเทพมหานคร

64.4

มม.

ที่

กรมอุตุนิยมวิทยา

เขตบางนา

เมื่อวันที่

4

ก.ค.

หมายเหตุ

เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก

ปริมาณฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0

สอต. หมายถึง สถานีอุตุนิยมวิทยา, กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 5?11กรกฎาคม 2567

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก

ประมาณ 1ม.

1-2 ม.

40-60 %

60-70 %

40-70 %

60-80 %

40-70 %

ระวัง โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ไม่ควรปล่อยตากฝน

หรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ

ระวัง โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ไม่ควรปล่อยตากฝน

หรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ

5 -7 ก.ค.

ระวัง น้าท่วมฉับพลัน น้าป่าไหลหลากฉบับที่81/2567

29-37

23-27

?ซ

30-36

23-27

?ซ

29-34

24-26

?ซ

31-36

22-27

?ซ

75-85 %

80-90 %

80-90 %

75-85 %

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา

ประมาณ 1ม.

ประมาณ 1 ม.

5-7ชม.

3-6ชม.

4-7ชม.

5-7ชม.

ระวัง โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ดูแล ระบบระบายน้า

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ