พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Friday July 19, 2024 15:54 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 19 - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 87/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 20-21 ก.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ประเทศลาวตอนบน และประเทศ/ เวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออก และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 ก.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศลาวและประเทศเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 20-23 ก.ค. ขอให้เกษตรกร ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มและลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 19-21 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ทางด้านตะวันตกของภาคในช่วงวันที่ 24-25 ก.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในสภาพอากาศที่มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ทำให้ดินชื้นแฉะและมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผัก ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรย้ายสัตว์เข้าเลี้ยงในโรงเรือนรวมทั้งตัดแต่งกิ่งต้นไม้รอบโรงเรือนไม่ให้หักโค่นมาโดนหลังคาหรือสายไฟ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นควรสวมใส่รองเท้าบูททุกครั้งเพื่อป้องกันโรคฉี่หนู ตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-21 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว เฉียงเหนือ 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในสภาพอากาศที่มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ทำให้ดินชื้นแฉะและบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผัก และหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นควรสวมใส่รองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝน หรืออยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย กลาง ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ทางด้านตะวันตกของภาคในช่วงวันที่ 24-25 ก.ค.67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก ไม้ผล และพืชผัก ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-23 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 20-22 ก.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ก.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ในช่วงวันที่ 19-23 ก.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับในสภาวะอากาศที่มีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราดำในลองกอง โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 23-25 ก.ค. ทะเลจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาคในช่วงวันที่ 24-25 ก.ค. 67 ในช่วงวันที่ 20-22 ก.ค. 67 ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ก.ค. 67 ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาคในช่วงวันที่ 23-25 ก.ค. 67 ในวันที่ 20-22 ก.ค. 67 ตั้งแต่จังหวัดระนอง ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงา ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ก.ค. 67 ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะยังมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันจะทำให้ดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ส่วนบริเวณที่มีฝนน้อย เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนชอนใบในพืชตระกูลส้ม หนอนเจาะฝักในถั่วฝักยาว เป็นต้น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 23-25 ก.ค. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 12 - 18 กรกฎาคม 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง มีกำลังปานกลางในระยะต้นช่วง จากนั้นมีกำลังค่อนข้างแรง ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในระยะต้นช่วง จากนั้นร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะกลางช่วง แล้วพาดผ่านบริเวณภาคเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นส่วนมากในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีรายงานฝนหนักถึงหนักมากและน้ำท่วมหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงกับมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 17 ก.ค. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 17-18 ก.ค. จังหวัดเชียงราย พะเยา พิษณุโลก และแพร่ ในวันที่ 18 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง โดยเฉพาะวันที่ 15 และวันที่ 17 ก.ค. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดมหาสารคาม เลย และขอนแก่น ในวันที่ 15-18 ก.ค. และจังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 17-18 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภู ในวันที่ 15 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 13-14 ก.ค. มีฝนร้อยละ 25-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 13 วันที่ 14 และวันที่ 18 ก.ค. มีฝนร้อยละ 50-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 13 และวันที่ 18 ก.ค. มีฝนร้อยละ 45-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นช่วง กับฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 16 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช และพัทลุง ในวันที่ 14 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ วันแต่วันที่ 15 และวันที่ 18 ก.ค. มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง โดยเฉพาะวันที่ 16 ก.ค. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตรัง ภูเก็ต และกระบี่ ในวันที่ 17 ก.ค.

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดพิษณุโลก อุดรธานี สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครนายก ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร เลย หนองคาย หนองบัวลำภู นครพนม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ