พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 22 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 88/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 22-27 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน / ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา เวียดนามตอนบน และประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้ บริเวณประเทศจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ขอให้เกษตรกรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินชื้นแฉะและบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย เช่น โคนเน่าขาวในถั่วลิสง โรคเน่าเละในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 22-26 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 27-28 ก.ค. เฉียงเหนือ 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งมีฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา หากมีน้ำท่วมขังเกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและฟื้นฟู เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ กลาง ในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกเกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคที่เรียในพืชไร่ ไม้ดอก ไม้ผล และพืชผัก ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตลอดช่วง ในวันที่ 22 ก.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-28 ก.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม.
- ระยะนี้ยังคงมีฝนตกชุก โดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งที่มีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราดำในลองกอง โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย สำหรับทะเลจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในวันที่ 22 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-28 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในวันที่ 22 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดระนอง ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงา ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-28 ก.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 23-28 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกติดต่อกัน เกษตรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะเพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในเดินเรือ และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 15 - 21 กรกฎาคม 2567 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดสัปดาห์ โดยพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นได้พาดผ่านภาคเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 16-19 ก.ค. โดยได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบนในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะต้นและกลางสัปดาห์ นอกจากนี้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมชายฝั่งของภาคตะวันออกและอ่าวไทย ในวันที่ 20 ก.ค. ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีรายงานน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกเกือบตลอดช่วง
ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 17 และวันที่ 19 ก.ค. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 17-19 และวันที่ 21 ก.ค. จังหวัดพะเยา พิษณุโลก และแพร่ ในวันที่ 18-19 ก.ค. จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 18-19 และวันที่ 20-21 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และมีฝนหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 45-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดมหาสารคาม เลย และขอนแก่น ในวันที่ 15-19 ก.ค. จังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 17-19 ก.ค. จังหวัดร้อยเอ็ด ในวันที่ 20-21 ก.ค. และจังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 21 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภู ในวันที่ 15 ก.ค. และจังหวัดเลย ในวันที่ 20 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 19 ก.ค. มีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและปลายสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 18 และวันที่ 20 ก.ค. มีฝนร้อยละ 55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณชายฝั่งตอนล่างของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดจันทบุรี ในวันที่ 20 ก.ค. จังหวัดตราด ในวันที่ 21 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ เว้นแต่วันสุดท้ายของสัปดาห์ มีฝนร้อยละ 5 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 16 ก.ค. และวันที่ 20 ก.ค. กับมีฝนหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 16 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ ในวันที่ 16-17 และวันที่ 20 ก.ค. ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ โดยเฉพาะวันที่ 16 ก.ค. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตรัง ภูเก็ต และกระบี่ ในวันที่ 17 ก.ค.
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน พิษณุโลก อุดรธานี สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครนายก จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู นครพนม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช พัทลุง ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา