พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 5 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday August 5, 2024 14:47 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 5 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 94/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 5 - 7 ส.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำประเทศเวียดนามตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 5 - 7 ส.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงปลูก ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 5 - 7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 7 ชม. - ในช่วงวันที่ 5 - 7 ส.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ และพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังโคนต้นพืชนาน ส่วนในบางที่ที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าเละ ในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด อีกทั้งผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาแล้วควรระวังความชื้นสะสมที่ทำให้เกิดเชื้อราในโรงเก็บผลผลิตไว้ด้วย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 5 - 7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเฉียงเหนือ เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 7 ชม. - ในช่วงวันที่ 5 - 7 ส.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ อีกทั้งควรสำรวจทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานานและควรสำรวจหลังคาโรงเรือนและแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ อีกทั้งควรเตรียมความพร้อมในการย้ายสัตว์ไปยังพื้นที่ปลอดภัยหากมีฝนตกหนักและน้ำท่วม นอกจากนี้เกษตรกรควรหมั่นสังเกตบริเวณโรงเรือนเพราะอาจมีสัตว์มีพิษหรือศัตรูสัตว์ เช่น งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น เข้ามาอาศัยหลบซ่อนในบริเวณโรงเรือนทำให้สัตว์เลี้ยงตื่นและอาจทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้ รวมถึงไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งหรือใต้ต้นไม้ใหญ่เพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง กลาง ในช่วงวันที่ 5 - 7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 7 ชม. - ในช่วงวันที่ 5 - 7 ส.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรเร่งสำรวจทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกให้พร้อมใช้งานได้เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ ส่วนในบางที่เคยมีฝนตกชุกติดต่อกัน ทำ

ให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในผลไม้ โรคใบจุดในพืชผัก เป็นต้น รวมทั้งผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาแล้วควรระวังความชื้นสะสมที่ทำให้เกิดเชื้อราในโรงเก็บผลผลิตไว้ด้วย สำหรับในช่วงหลังจะมีปริมาณฝนลดลง ทำให้บางพื้นที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนกัดกินส่วนต่างๆของพืช ส่งผลให้พืชชะงักการเจริญเติบโตได้ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 5 - 7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 25 องศา

เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 7 ชม. - ในช่วงวันที่ 5 - 7 ส.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง หลังจากนั้นจะมีปริมาณฝนลดลง ควรตรวจสอบระบบระบายน้ำให้พร้อมและตรวจสอบพืชผลอย่างสม่ำเสมอ ส่วนชาวสวนผลไม้ควรฟื้นฟูสภาพพืชสวน สำรวจดูแลวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง หลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันรากพืชเสียหายจากดินทรุดตัว รวมทั้งระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย โดยควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมในพื้นที่การเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงแต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อน แล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้น้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 5 - 6 และ 9 - 11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 5 - 6 และ 9 - 11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ด้านฝั่งตะวันตกจะมีการกระจายของฝนมากกว่าฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับในบางพื้นที่ที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น โดยเฉพาะโรคราดำในลองกอง ที่เกิดจากการเชื้อรา ที่ทำให้เกิดคราบดำบนผิวของลองกอง อนึ่ง ระยะนี้ บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง NT ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม 2567 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ รวมถึงมีแนวลมพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกและอ่าวไทยตอนบนในวันที่ 31 ก.ค. - 1 ส.ค. กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกมีฝนหนักถึงหนักมากและมีรายงานน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนหลายพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันที่ 31 ก.ค. - 1 ส.ค. มีฝนหนักหลายพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตาก ในวันที่ 31 ก.ค. - 1 ส.ค. จังหวัดพะเยา ในวันที่ 1 ส.ค. จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 1-4 ส.ค. จังหวัดลำปาง ในวันที่ 2-3 ส.ค. และจังหวัดน่านในวันที่ 2-4 ส.ค. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 29 กับวันที่ 31 ก.ค. - 1 ส.ค. และจังหวัดน่าน ในวันที่ 31 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ วันที่ 30-31 ก.ค. มีฝนร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 29 ก.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 30 ก.ค. และวันที่ 1 ส.ค. มีฝนร้อยละ 50-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องบริเวณจังหวัดจันทบุรี ปราจีนบุรี ตราด กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระยอง ในวันที่ 29 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในระยะต้นสัปดาห์และวันที่ 30 ก.ค. และวันที่ 2 ส.ค. มีฝนร้อยละ 30-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ กับฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 1 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-85 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 30 ก.ค. และวันที่ 1-2 ส.ค. มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 29-30 ก.ค. และวันที่ 3 ส.ค.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน กำแพงเพชร เลย หนองบัวลำภู นครราชสีมา บุรีรัมย์ อ่างทอง นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปัตตานี และตรัง ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ