พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 14 - 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Wednesday August 14, 2024 14:23 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 14 - 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 98/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 18 ส.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมามีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง "อ็อมปึล" (AMPIL) บริเวณตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นในระยะต่อไป คาดว่าจะเคลื่อนผ่านด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 16 - 17 ส.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย คำเตือน บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงปลูก ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 14 - 15 และ 18 - 20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนใน        ช่วงวันที่ 16 - 17 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 68 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 16 - 17 ส.ค. จะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง โดยหมั่นสังเกตระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองและความแข็งแรงของฝายเก็บกั้นน้ำต่างๆไว้ด้วย สำหรับพื้นที่ถูกน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรทำทางเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังโคนต้นพืชนาน ส่วนในบางที่ที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบฝอยหรือให้น้ำในช่วงเย็นเพื่อป้องกันไม่ให้ใบเปียกชื้นและเป็นการลดความชื้นสะสมบริเวณใบ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 14 - 15 และ 19 - 20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนใน      ช่วงเฉียงเหนือ วันที่ 16 - 18 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์         65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง จะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง รวมทั้งควรสำรวจทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยหมั่นสังเกตระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองและความแข็งแรงของฝายเก็บกั้นน้ำต่างๆไว้ด้วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานานและควรสำรวจหลังคาโรงเรือนและแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ อีกทั้งควรเตรียมความพร้อมในการย้ายสัตว์ไปยังพื้นที่ปลอดภัยหากมีฝนตกหนักและน้ำท่วม สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าเปียกหรือโรคราขนแมวในพริก เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นควรสวมใส่รองเท้าบูท เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู
          กลาง ในช่วงวันที่ 14 - 15 และ 19 - 20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 18 ส.ค. มีฝน   ฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด    32 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. - ในช่วงวันที่ 16 - 18 ส.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรเร่งสำรวจทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกให้พร้อมใช้งานได้เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ ส่วนในบางที่เคยมีฝนตกชุกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในผลไม้ โรคใบจุดในพืชผัก เป็นต้น รวมทั้งผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาแล้วควรระวังความชื้นสะสมที่ทำให้เกิดเชื้อราในโรงเก็บผลผลิตไว้ด้วย สำหรับในบางพื้นที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรตรวจสอบระบบระบายน้ำให้พร้อมและตรวจสอบพืชผลอย่างสม่ำเสมอ ส่วนชาวสวนผลไม้ควรฟื้นฟูสภาพพืชสวน สำรวจดูแลวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง หลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันรากพืชเสียหายจากดินทรุดตัว รวมทั้งระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย โดยควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมในพื้นที่การเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงแต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อน แล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้น้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในวันที่ 14 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ        1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในวันที่ 14 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ   60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดระนอง ขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงา ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. - ในช่วงวันที่ 15 - 20 ส.ค. จะมีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในสภาวะอากาศที่มีฝนตกชุกติดต่อกัน เกษตรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคผลเน่าในทุเรียน โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย ส่วนชาวสวนผลไม้ควรฟื้นฟูสภาพพืชสวน สำรวจดูแลวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง และหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันรากพืชเสียหายจากดินทรุดตัว NT ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 7 - 13 สิงหาคม 2567 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย หนองคาย สกลนคร พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร นครนายก จันทบุรี ตราด สงขลา ภูเก็ต และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ อุทัยธานี สุพรรณบุรี อ่างทอง ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ