พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 19 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 100/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 24 ส.ค. จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบน ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับในช่วงวันที่ 23 -
25 ส.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง คำเตือน ระยะนี้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมาก บางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 20 - 22 ส.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง รวมทั้งควรระวังโรคที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคฉี่หนู โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคน้ำกัดเท้า และโรคตาแดง เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่ชื้นในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม โรคราสนิมในกาแฟ โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ส่วนชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำโดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำที่ไหลเข้านาแล้วจับหอยไปกำจัด เพื่อไม่ให้หอยดังกล่าวเข้าไปในแปลงนากัดกินต้นข้าวและแพร่พันธุ์แล้วทำลายต้นข้าวในระยะต่อไป ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางเฉียงเหนือ แห่ง ในช่วงวันที่ 19 - 22 ส.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้งเพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนู นอกจากนี้เกษตรกรควรจัดเตรียมพื้นที่สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายโดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ เช่นโคและกระบือ เป็นต้น สำหรับพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศที่ชื้นในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคไหม้ในข้าว โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก โรคหัวเน่าในมันสัมปะหลัง เป็นต้น ส่วนชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำโดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำที่ไหลเข้านาแล้วจับหอยไปกำจัด เพื่อไม่ให้หอยดังกล่าวเข้าไปในแปลงนากัดกินต้นข้าวและแพร่พันธุ์แล้วทำลายต้นข้าวในระยะต่อไป กลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 23 - 25 ส.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง นอกจากนี้เกษตรกรควรจัดเตรียมพื้นที่อพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศที่ชื้นในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น นอกจากนี้ควรทำทางระบายน้ำและขุดลอกคูคลองออกจากพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรยกขอบบ่อให้สูงขึ้นและจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายโดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ เช่นโคและกระบือ เป็นต้น สำหรับสภาพอากาศที่ชื้นในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม โรคใบติดในทุเรียน โรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก โรคหัวเน่าในมันสัมปะหลัง เป็นต้น โดยดูแลแปลงปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกแสงแดดส่อง ได้ทั่วถึง เพื่อป้องกันการระบาดและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าว ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 20 - 22 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 25 ส.ค. ตั้งแต่จังหวัด ระนอง ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัด พังงา ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่ชื้นในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม โรคใบติดในทุเรียน โรคใบยางร่วงในยางพารา เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกแสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อป้องกันการระบาดและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าว สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่นและเน่าเสีย ตลอดจนเปลือกผลไม้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 12 - 18 สิงหาคม 2567 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังปานกลางในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบน มีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักถึงหนักมาก ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นในระยะกลางและปลายสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 14-15 ส.ค. มีฝนร้อยละ 50-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมาก บางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 12 ส.ค. จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 12 และวันที่ 15-18 ส.ค. จังหวัดเชียงรายในวันที่ 12-18 ส.ค. จังหวัดพะเยา ในวันที่ 13 และวันที่ 15-18 ส.ค. และจังหวัดลำปาง ในวันที่ 13-14 ส.ค. จังหวัดน่าน ในวันที่ 16-17 ส.ค. นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดน่าน ในวันที่ 13 ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 50-80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 14-15 ส.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งโดยเฉพาะในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ที่มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเลย ในวันที่ 12-13 ส.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 13 ส.ค. มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งระหว่างวันที่ 13-16 ส.ค. กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 13 ส.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับฝนหนักมากบางพื้นที่ ในวันแรกของสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 14 ส.ค. บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 25-55 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 12-13 และวันที่ 15 ส.ค. มีฝนร้อยละ 15-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์
สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ยโสธร อ่างทอง ตราด สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี เพชรบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา