พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Wednesday August 21, 2024 14:34 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 101/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปก/ คลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดช่วง ประกอบกับในช่วงวันที่ 22-24 ส.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ขอให้เกษตรกร ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. 67 มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้มีฝนตกชุกหนาแน่น โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในสภาวะอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าเปียกในพริก โรคเน่าเละในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด และโรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 22-24 เฉียงเหนือ ส.ค. 67 มีฝนตกหนักมากบางแห่งทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้มีฝนตกชุกหนาแน่น โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 22-24 ส.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นควรสวมใส่รองเท้าที่สามารถกันน้ำได้ เพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำโดยเฉพาะโรคฉี่หนู นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผักไว้ด้วย กลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 21-24 ส.ค. 67 อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 21-24 ส.ค. เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคเน่าเปียกในพริก เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย

ตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.- ในสภาวะอากาศที่มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยชาวสวนผลไม้ควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืชแล้วยังช่วยป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเสริมขอบบ่อเลี้ยงให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงไหลลงบ่อ รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 23-26 ส.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัด ระนอง ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัด พังงา ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - จากสภาวะอากาศที่มีฝนตกชุกและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคผลเน่าในทุเรียน โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา PK ระหว่างวันที่ 14 - 20 สิงหาคม 2567 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน หนองคาย นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ยโสธร นครสวรรค์ อ่างทอง กรุงเทพมหานคร สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา ปทุมธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ