พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 2 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Friday August 2, 2024 15:01 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 2 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 93/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 3-4 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน / ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มีแนวลมพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกและอ่าวไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 2-5 ส.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 2-3 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้ยังมีฝนตกชุก โดยจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง สำหรับในช่วงที่มีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในถั่วเหลือง โรคเน่าเละในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 3-5 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเฉียงเหนือ เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติตต่อกันทำให้ในดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย กลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 3-4 ส.ค. 67 อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนแมลงวันเจาะลำต้นในถั่วเหลืองและถั่วเขียว หนอนชอนใบในถั่วลิสง เป็นต้น สำหรับบริเวณพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้

ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 2-5 ส.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราดำในลองกอง โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟู ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 3-5 ส.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนน้อย เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้

PK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2567 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในระยะกลางและปลายช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง อีกทั้งมีแนวลมพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกและอ่าวไทยตอนบนในระยะปลายช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นตลอดช่วง โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนหนักถึงหนักมากและมีรายงานน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนหลายพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 65-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยเฉพาะในระยะปลายช่วง มีฝนหนักหลายพื้นที่ โดยในวันที่ 30-31 ก.ค. มีฝนหนักมากบางแห่ง และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตาก ในวันที่ 26 ก.ค. - 1 ส.ค. นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 29 กับวันที่ 31 ก.ค. - 1 ส.ค. และจังหวัดน่าน ในวันที่ 31 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 31 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ เว้นแต่ วันที่ 30-31 ก.ค. มีฝนร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและปลายช่วง กับมีฝนหนักมากบางแห่งในวันแรกของช่วง และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 26-29 ก.ค. ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 30 ก.ค. และวันที่ 1 ส.ค. มีฝนร้อยละ 50-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตราด ในวันที่ 26 ก.ค. - 1 ส.ค. จังหวัดจันทบุรีและปราจีนบุรี ในวันที่ 27 ก.ค. - 1 ส.ค. และจังหวัดระยอง ในวันที่ 29 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในระยะต้นช่วงและวันที่ 30 ก.ค. มีฝนร้อยละ 45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง กับฝนหนักมากบางแห่งในวันสุดท้ายของช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 28 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 26 วันที่ 30 ก.ค. และวันที่ 1 ส.ค. มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน บุรีรัมย์ กาญจนบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด และปัตตานี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร นครปฐม ราชบุรี สระแก้ว สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ