พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม - 5 กันยายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 105/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 30-31 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าว/ ไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 3 ก.ย. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4-5 ก.ย. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร คำเตือนในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. ขอให้เกษตรกร ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 4-5 ก.ย.
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 30-31 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ทางตอนล่างของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในสภาวะอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก ไม้ผล และพืชผัก ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 30-31 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 2-5 ก.ย. 67 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง สำหรับในสภาวะอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าเละในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด โรคแอนแทรคโนสหรือโรคกุ้งแห้งในพริก เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นควรสวมใส่รองเท้าที่สามารถกันน้ำได้ เพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำ โดยเฉพาะโรคฉี่หนู กลาง ในช่วงวันที่ 30-31 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 2-5 ก.ย. 67 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.
- ในข่วงวันที่ 1-5 ก.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก ในสภาวะอากาศที่มีฝนตกชุกหนาแน่น เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคเน่าเปียกในพริก โรคผลเน่าในไม้ผล เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย ตะวันออก
ในช่วงวันที่ 30-31 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 1-3 ก.ย. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 4-5 ก.ย. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.- ในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ในสภาวะอากาศที่มีฝนตกชุกหนาแน่น เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย อนึ่งในช่วงวันที่ 4-5 ก.ย. ทะเลจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 30-31 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 1-3 ก.ย. 67 ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 4-5 ก.ย. 67 ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 30-31 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 3 ก.ย. 67 ตั้งแต่จังหวัดระนอง ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงา ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 4-5 ก.ย. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในสภาวะอากาศที่มีฝนตกชุกจะทำให้อากาศและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเทอันดามัน ในช่วงวันที่ 4-5 ก.ย. จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง
PK
ระหว่างวันที่ 23 - 29 สิงหาคม 2567 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน โดยมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝน โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนาแน่นตลอดช่วงกับมีรายงานน้ำท่วมหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาคมีฝนตกชุกเกือบตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยเฉพาะวันที่ 27-28 ส.ค. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ และเพชรบูรณ์ กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 24-28 ส.ค. จังหวัดสุโขทัย ในวันที่ 25-29 ส.ค. จังหวัดอุตรดิตถ์ ในวันที่ 27 ส.ค. จังหวัดลำปาง ในวันที่ 27-29 ส.ค. และจังหวัดลำพูน ในวันที่ 28-29 ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 40-75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอุดรธานี จนถึงวันที่ 24 ส.ค. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเลยและหนองบัวลำภู ในวันที่ 27-28 ส.ค. และจังหวัดหนองคาย ในวันที่ 29 ส.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 24 และวันที่ 27-28 ส.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 24 และวันที่ 27 ส.ค. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 27-28 ส.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 28 ส.ค. โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระยอง ในวันที่ 24 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-55 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 27 ส.ค. มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 24 ส.ค. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 23 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดช่วง โดยเฉพาะวันที่ 27 ส.ค. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 23-24 และวันที่ 28 ส.ค. จังหวัดพังงา ตรัง และสตูล ในวันที่ 28 ส.ค. และมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 23 ส.ค.
ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา อุบลราชธานี นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง น่าน ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร หนองคาย หนองบัวลำภู นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ยโสธร อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา