พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 4 - 10 กันยายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 107/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในวันที่ 8 - 10 ก.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคตะวันออก และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในขณะที่พายุไต้ฝุ่น "ยางิ" (YAGI) จะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักมาก และลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับในช่วงวันที่ 4 - 8 ก.ย. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 9 - 10 ก.ย. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไปและบริเวณอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "ยางิ" (YAGI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 6 - 7 ก.ย. 67 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย คำเตือน บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงปลูก ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 4 - 8 ก.ย.
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 4 - 6 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากกับมีลมกระโชกแรง ในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.ย. ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม. - ในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.ย. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง โดยหมั่นสังเกตระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองและความแข็งแรงของฝายเก็บกั้นน้ำต่างๆด้วย อีกทั้งควรค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง ป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับพื้นที่ถูกน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรเร่งระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังโคนต้นพืชนาน สำหรับระยะนี้และในระยะที่ผ่านมา ฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินอ่อนตัวและมีความชื้นสูง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่การเกษตร เพราะดินอาจทรุดตัวทำลายรากพืชเสียหายได้ รวมทั้งควรเตรียมการป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรียไว้ด้วย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 4 - 6 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 เฉียงเหนือ กม./ชม. ส่วนในวันที่ 7 - 10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากกับมีลมกระโชกแรง ทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม. - ในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.ย. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาค กับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง
รวมทั้งควรสำรวจทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยหมั่นสังเกตระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองและความแข็งแรงของฝายเก็บกั้นน้ำต่างๆไว้ด้วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเตรียมพร้อมในการย้ายสัตว์ไปยังพื้นที่ปลอดภัยหากมีฝนตกหนักและน้ำท่วม อีกทั้งควรหมั่นสังเกตบริเวณโรงเรือนเพราะอาจมีสัตว์มีพิษหรือศัตรูสัตว์ เช่น งู ตะขาบ และ แมงป่อง เป็นต้น เข้ามาอาศัยหลบซ่อนในบริเวณโรงเรือนทำให้สัตว์เลี้ยงตื่นและอาจทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นควรสวมใส่รองเท้าบูท เพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส หรือ โรคฉี่หนู กลาง ในช่วงวันที่ 4 - 7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 8 - 10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตกและตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดบเฉพาะที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ เกษตรกรควรเตรียมขนของขึ้นสู่ที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรเร่งทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะโรคเน่าเละในพืชตระกูลกะหล่ำ โรคดอกเน่าในดาวเรือง และ โรคเน่าดำในกล้วยไม้ เป็นต้น ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว ควรลดความชื้นลงเพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหายในโรงเก็บ ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.ย. ในช่วงวันที่ 4 - 8 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ในช่วงวันที่ 9 - 10 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.ย.จะมีฝนตกหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรตรวจสอบทางระบายน้ำให้พร้อมใช้งาน สำหรับระยะนี้และในระยะที่ผ่านมา ฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินอ่อนตัวและมีความชื้นสูง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันรากพืชเสียหายและดินอัดแน่น รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นสะสมในพื้นที่การเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงแต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อน แล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้น้ำ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 4 - 8 ก.ย. ทะเลจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 8 - 10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 4 - 8 ก.ย. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 10 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 4 - 8 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 10 ก.ย. ตั้งแต่จังหวัดระนอง ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงา ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 95 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักมากโดยเฉพาะฝั่งตะวันตกของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในสภาวะที่มีฝนตกติดต่อกัน เกษตรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคผลเน่าในทุเรียน โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย ส่วนชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง และหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันรากพืชเสียหายและดินอัดแน่น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 4 - 8 ก.ย. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง
NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 3 กันยายน 2567 ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดลำพูน แพร่ พิษณุโลก เลย หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ยโสธร พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ชลบุรี จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา และตรัง ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุดรธานี มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ปทุมธานี กาญจนบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นราธิวาส ภูเก็ต และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา