พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 6-12 กันยายน 2567

ข่าวทั่วไป Friday September 6, 2024 15:01 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ฉบับที่ 108/2567

/

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 6 ? 12 กันยายน พ.ศ. 2567

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2567

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 6 ? 8 ก.ย. พายุไต้ฝุ่น ?ยางิ? (YAGI) จะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งและมีลมแรง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับในวันที่ 9 - 12 ก.ย. ร่องมรสุมจะพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง โดยตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมาและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไปและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น ?ยางิ? (YAGI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 7 ? 8 ก.ย. หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนและพายุดีเปรสชันตามลำดับ ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย

คาเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทย จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนบางพื้นที่จะมีลมแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 8 ก.ย. และติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

คาแนะนาสาหรับการเกษตร

ภาค

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

เหนือ

ในช่วงวันที่ 7 ? 12 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ? 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากกับมีลมแรง ทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 7 ? 9 ก.ย. ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วม หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพพื้นที่การเกษตรและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ ส่วนฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม โรคใบจุดในเบญจมาศ โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสำรวจโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เพราะอาจมีสัตว์มีพิษหรือศัตรูสัตว์มาอาศัยหลบฝนบริเวณโรงเรือนทำให้สัตว์เลี้ยงตื่นและอาจทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้ หากพบศัตรูสัตว์ดังกล่าวควรรีบจัดการให้ออกไปจากโรงเรือน สำหรับฤดูต่อไปจะเป็นฤดูหนาวปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรเตรียมพื้นที่กักเก็บน้ำเอาไว้ให้พร้อม เพื่อเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ตะวันออก เฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ? 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากกับมีลมแรง ทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 6 ? 8 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 ? 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 ? 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนู ส่วนชาวนาควรระวังหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำโดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านาแล้วจับหอยดังกล่าวไปทำลาย เพื่อ

2

ป้องกันหอยเข้าในแปลงนาและแพร่พันธุ์แล้วกัดกินต้นข้าว สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคไหม้ในข้าว โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น สำหรับฤดูต่อไปจะเป็นฤดูหนาวปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรเตรียมพื้นที่กักเก็บน้ำเอาไว้ให้พร้อม เพื่อเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

กลาง

ในช่วงวันที่ 6 ? 8 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ? 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9 ? 12 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ? 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก บางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 ? 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 ? 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคดอกเน่าในดาวเรือง และ โรคเน่าดำในกล้วยไม้ เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรยกขอบบ่อให้สูงขึ้นและจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน

ตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 6 ? 7 และ 11 - 12 ก.ย. ในช่วงวันที่ 6 ? 8 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 ? 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 12 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 ? 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 ? 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 ? 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรฟื้นฟูสภาพพื้นที่การเกษตรและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม สำหรับฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรยกขอบบ่อให้สูงขึ้นและจัดเตรียมอุปกรณ์สูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน อนึ่ง ระยะนี้ทะเลจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วง 6-8 ก.ย.เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ใต้

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ? 60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 6 ? 8 ก.ย. ในช่วงวันที่ 6 ? 8 ก.ย. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 ? 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 12 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 ? 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 ? 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 ? 6 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 6 - 8 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ? 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 ? 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 12 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ? 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดระนอง ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 ? 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงา ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 %

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยทำทางระบายน้ำออกจาก

3

แปลงปลูก สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคใบยางร่วงในยางพารา เป็นต้น สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว ชาวสวนไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียตลอดจนเปลือกผลไม้กองอยู่ในสวน แต่ควรนำไปกำจัดนอกสวน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย ส่วนชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง อนึ่ง ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วง 6-8 ก.ย. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง

ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม ? 5 กันบาบน 2567 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน ประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 31 ส.ค. จากนั้นได้เลื่อนลงมาพาดผ่านประเทศไทยตอนบน โดยพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางในวันที่ 1 ก.ย. และพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของช่วง อีกทั้งมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่างในวันที่ 3 ก.ย. ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกตลอดช่วง โดยเฉพาะในระยะกลางช่วงมีฝนตกหนาแน่นบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก กับมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาคมีฝนตกชุกในระยะกลางและระยะปลายช่วง

อนึ่ง พายุโซนร้อน ?ยางิ (YAGI,2411)? บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่นเมื่อเวลา 07.00 น. ของวันที่ 4 ก.ย. โดยมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ โดยเมื่อเวลา 04.00 น. ของวันที่ 6 ก.ย. มีศูนย์กลางอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะไหหลำ

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันที่ 1 ก.ย. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดเชียงราย สุโขทัย และพิษณุโลก กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 30 ส.ค. จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 31 ส.ค.-1 ก.ย. และจังหวัดลำปาง ในวันที่ 1 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 30 ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 30 ส.ค. และวันที่ 4-5 ก.ย. มีฝนร้อยละ 40-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง โดยเฉพาะในวันที่ 1 วันที่ 2 และวันที่ 4 ก.ย. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดหนองคาย ในวันที่ 30 ส.ค.-3 ก.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดศรีสะเกษและกาฬสินธุ์ ในวันที่ 2 ก.ย. จังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 3 ก.ย. และจังหวัดอำนาจเจริญ ในวันที่ 5 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 75-90 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 30-31 ส.ค. และวันที่ 5 ก.ย. มีฝนร้อยละ 30-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 1 และวันที่ 3 ก.ย.และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 2 ก.ย. จังหวัดอุทัยธานี ในวันที่ 2-3 ก.ย. จังหวัดอ่างทอง ในวันที่ 3 ก.ย. และจังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 4-5 ก.ย. ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 31 ส.ค. และวันที่ 5 ก.ย. มีฝนร้อยละ 35-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง โดยเฉพาะในระยะกลางช่วงมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 1-3 ก.ย. และจังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 4 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่วันที่ 2 ก.ย. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 30 ส.ค. และวันที่ 2-3 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับฝนหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในวันที่ 2 ก.ย. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่

ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดหนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ยโสธร ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ระนอง และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ ศรีสะเกษ

AS

4

อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ปทุมธานี กาญจนบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ และสตูล

สาหรับบริเวณที่มีฝนหนักและหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้

ภาคเหนือ

70.4

มม.

ที่

อ.ดอยหลวง

จ.เชียงราย

เมื่อวันที่

2

ก.ย.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

135.0

มม.

ที่

อ.เลิงนกทา

จ.ยโสธร

เมื่อวันที่

2

ก.ย.

ภาคกลาง

110.0

มม.

ที่

สวนป่าซับลังกา อ.ลำสนธิ

จ.ลพบุรี

เมื่อวันที่

3

ก.ย.

ภาคตะวันออก

170.2

มม.

ที่

อ.บางละมุง

จ.ชลบุรี

เมื่อวันที่

2

ก.ย.

ภาคใต้

100.6

มม.

ที่

อ.กะเปอร์

จ.ระนอง

เมื่อวันที่

2

ก.ย.

กรุงเทพมหานคร

90.5

มม.

ที่

โรงเรียนวัดบางบอน

เขตบางบอน

เมื่อวันที่

2

ก.ย.

หมายเหตุ

เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก

ปริมาณฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0

สอต. หมายถึง สถานีอุตุนิยมวิทยา, กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

คลื่นลม

ฝนฟ้าคะนอง

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคใต้

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร

02-399-2387 ; 02-366-9336

ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

ระหว่างวันที่ 6 -12 กันยายน 2567

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร7 วันข้างหน้า

ควร! เดินเรือระมัดระวัง

ระวัง!โรคเชื้อรา/แบคทีเรีย

ฉบับที่108 /67

2-3เมตร

2 เมตร

2-3เมตร

ระวัง!น้ำท่วม

ระวัง!โรคเชื้อรา/แบคทีเรีย

ควร! เดินเรือระมัดระวัง

ระวัง!โรคเชื้อรา/แบคทีเรีย

ระวัง!โรคเชื้อรา/แบคทีเรีย

ควร!สวมรองเท้าบูทเมื่อย่ำน้ำ

ควร! ทำทางระบายน้ำ

ระวัง!โรคเชื้อรา/แบคทีเรีย

ควร! ทำทางระบายน้ำ

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ