พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 กันยายน พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Friday September 13, 2024 15:42 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 13 - 19 กันยายน พ.ศ. 2567

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567

          กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 111/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ  ในช่วงวันที่ 14 - 17 ก.ย. ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน         จะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 ก.ย. ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนลดลง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 14 - 19 ก.ย. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร   คำเตือน บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงปลูก ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 14 - 19 ก.ย.
          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 13 - 17 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 7 ชม.   - ในช่วงวันที่ 13 - 17 ก.ย. จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง โดยหมั่นสังเกตระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง และความแข็งแรงของฝายเก็บกั้นน้ำต่างๆด้วย สำหรับพื้นที่ถูกน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรเร่งระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังโคน   ต้นพืชนาน สำหรับระยะนี้และในระยะที่ผ่านมา ฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินอ่อนตัวและมีความชื้นสูง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่การเกษตร เพราะดินอาจทรุดตัวทำลายรากพืชเสียหายได้ รวมทั้งควรเตรียมการป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรียไว้ด้วย เช่น โรคใบจุดและเชื้อราในพืชไร่ ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่  13 เฉียงเหนือ - 16 ก.ย. ในช่วงวันที่ 13 - 14 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 19 ก.ย. ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 4 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง โดยหมั่นสังเกตระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองและความแข็งแรงของฝายเก็บกั้นน้ำต่างๆไว้ด้วย รวมทั้งควรสำรวจทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำ ทำให้ดินชุ่มน้ำและอาจเกิดโรครากเน่าในพืชไร่ เช่น มันสำปะหลังและอ้อย เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเตรียมพร้อมในการย้ายสัตว์ไปยังพื้นที่ปลอดภัยหากมีฝนตกหนักและน้ำท่วม และควรหมั่นสังเกตบริเวณโรงเรือนเพราะอาจมีสัตว์มีพิษหรือศัตรูสัตว์ เข้ามาอาศัยหลบซ่อนในบริเวณโรงเรือน ทำให้สัตว์เลี้ยงตื่นและอาจทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นควรสวมใส่รองเท้าบูท เพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส หรือ โรคฉี่หนู  กลาง ในช่วงวันที่ 13 - 15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 19 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก      ถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 %  ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม. - ในช่วงวันที่ 16 - 19 ก.ย. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ เกษตรกรในพื้นที่เสียงภัยควรเตรียมขนของขึ้นสู่ที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรเร่งทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกหรือเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะโรคเน่าเละในพืชตระกูลกะหล่ำ โรคดอกเน่าในดาวเรือง และ โรคเน่าดำในกล้วยไม้ เป็นต้น ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว ควรลดความชื้นลงเพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหายในโรงเก็บ ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในวันที่        13 และในช่วงวันที่ 16 - 19 ก.ย. สำหรับในวันที่ 13 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง  1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 19 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ อีกทั้งควรค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง ป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับระยะนี้และในระยะที่ผ่านมา ฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินอ่อนตัวและมีความชื้นสูง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันรากพืชเสียหายและดินอัดแน่น รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นสะสมในพื้นที่การเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเสริมคันดินไม่ให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงหรือควรนำไปพักในบ่อพักก่อน แล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้น้ำ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 14 - 19 ก.ย. ทะเลจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ใต้ ฝั่งตะวันออก  ในช่วงวันที่ 13 - 14 ก.ย. ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 19 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. ฝั่งตะวันตก  มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตลอดช่วง ในวันที่ 13 ก.ย.ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝน   ฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 19 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว    20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26       องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักมากโดยเฉพาะฝั่งตะวันตกของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ และดินโคลนถล่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในสภาวะที่มีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคผลเน่าในทุเรียน โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง และหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันรากพืชเสียหายและดินอัดแน่น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 14 - 19 ก.ย. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 6 - 12 กันยายน 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรงในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีกำลังปานกลาง ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย โดยมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณ

ประเทศเมียนมาและลาวตอนบนในช่วงวันที่ 9-10 ก.ย. ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกส่วนมากในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนหนักมากบางพื้นที่ อีกทั้งมีรายงานน้ำท่วม ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของช่วง อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "ยางิ (YAGI,2411)" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนได้เคลื่อนผ่านเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ยและได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองไฮฟอง ประเทศเวียดนาม เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 7 ก.ย. จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนบริเวณเมืองนิญบิ่ญในช่วงเช้าของวันที่ 8 ก.ย. และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันเดียวกัน

          ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 20-55 ของพื้นที่ ในระยะต้นช่วงและวันสุดท้ายของช่วง ส่วนวันอื่นๆ มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 9-11 ก.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ โดยมีรายงาน  ฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และฝนหนักมาก        บางพื้นที่ในวันที่ 7 วันที่ 9 และวันที่ 11 ก.ย. และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดเชียงราย สุโขทัยและพิษณุโลก กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตาก ในวันที่ 10-12 ก.ย. และจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 11 ก.ย. โดยมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 10 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 10-11 ก.ย. มีฝนร้อยละ 80-85 ของพื้นที่   โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเลย ในวันที่ 11-12 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่อง จากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดนครสวรรค์และพระนครศรีอยุธยา และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดอ่างทอง ในวันที่ 9-12 ก.ย. กับ         มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสิงห์บุรี ในวันที่ 11 ก.ย. และจังหวัดนนทบุรี ในวันที่ 12 ก.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-75  ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 6-7 และวันที่ 9 ก.ย. มีฝนร้อยละ 30-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 6 วันที่ 10 และวันที่ 12 ก.ย. กับ    มีฝนหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 9 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-95 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 9-11 ก.ย. มีฝนร้อยละ 15-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 7 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 10-11 ก.ย. มีฝนร้อยละ 25-35 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ในวันที่ 6 ก.ย. และมีฝนหนักบางแห่งในวันที่     8 และ วันที่ 12 ก.ย.

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น ยโสธร ตราด ปัตตานี และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ ตาก พิจิตร มุกดาหาร กาฬสินธุ์

มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ