พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 23 - 29 กันยายน พ.ศ. 2567
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2567
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 115/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาค/ ตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเกาะไหหลำ ประเทศจีน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ก.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ขอให้เกษตรกร ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย.คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในสภาวะอากาศที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในวันที่ เฉียงเหนือ 23 ก.ย. 67 อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 23 ก.ย. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สิน พืชผลทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้วควรรีบปรับปรุงและฟื้นฟูให้กลับเข้าสูงสภาวะปกติรวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก กลาง ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในวันที่ 23 ก.ย. 67 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันกัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแอนแทรคโนสในพริก เป็นต้น ส่วนบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่มาก เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนชอนใบในถั่วเหลืองและถั่วเขียว เป็นต้น โดยหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบให้รีบกำจัด
ตะวันออก
ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังในที่ลุ่มบางพื้นที่ได้ โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ควรระวังการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า โดยหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบต้นที่เป็นโรครุนแรงหรือตายให้ขุดไปเผาทำลาย เพื่อไม่ให้แพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่ายใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. 67 ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ก.ย. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. 67 ตั้งแต่จังหวัดพังงา ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ก.ย. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน เกษตรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา เป็นต้น ส่วนบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่มาก เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนชอนใบในพืชตระกูลส้ม หนอนเจาะผลในมะเขือเปราะ เป็นต้น สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 16 - 22 กันยายน 2567 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในระยะต้นสัปดาห์ และพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเกาะไหหลำในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดสัปดาห์ อีกทั้งมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันที่ 21 ก.ย. นอกจากนี้พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "ซูลิก (SOULIK,2415)" บริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางและได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองกวางตรี ประเทศเวียดนาม เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 19 ก.ย. จากนั้นได้เคลื่อนผ่านประเทศลาวพร้อมทั้งอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดนครพนมในช่วงเช้าของวันที่ 20 ก.ย. จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงเย็นของวันเดียวกัน ซึ่งในเวลาต่อมาหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงนี้ได้ปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือและยังคงมีรายงานน้ำท่วมหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกชุกโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาคกับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 45-75 ของพื้นที่ ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 17 และวันที่ 22 ก.ย. โดยมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดเชียงรายและพิษณุโลก และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตาก ในวันที่ 16-22 ก.ย. จังหวัดพะเยา ในวันที่ 17 ก.ย. จังหวัดลำปาง ในวันที่ 17-22 ก.ย. และจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 20 ก.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดลำพูน ในวันที่ 16 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดหนองคาย และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 16-18 ก.ย. จังหวัดบึงกาฬ ในวันที่ 16-19 ก.ย. และจังหวัดนครพนม ในวันที่ 17-22 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 75-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 16 และวันที่ 19 ก.ย. มีฝนร้อยละ 15-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ กับมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 17 วันที่ 20 และ 22 ก.ย. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 16-17 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชุมพร ในวันที่ 16-17 ก.ย. และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 22 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ ในวันที่ 16 และ 19 ก.ย. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพังงาและภูเก็ต ในวันที่ 16-17 ก.ย. จังหวัดสตูล ในวันที่ 16-19 ก.ย. และจังหวัดตรัง ในวันที่ 17-18 ก.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกระบี่และพังงา ในวันที่ 16 ก.ย.
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ลพบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ชลบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น สุรินทร์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา และนราธิวาส
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา