พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 25 กันยายน - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Wednesday September 25, 2024 15:34 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 25 กันยายน - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ออกประกาศวันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2567
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 116/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 25 - 29 ก.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีลมฝ่ายตะวันออกพัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน โดยคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบน เวียดนามตอนบน และทะเลจีนใต้ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออกมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ คำเตือน ในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว อนึ่ง ระยะนี้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 26 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่มากับน้ำ เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ส่วนดินและอากาศจะมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม โรคราสนิมในกาแฟ โรคราน้ำฝนในลำไย และโรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น นอกจากนี้พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นพืชตายได้ อนึ่ง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงเฉียงเหนือ วันที่ 29 ก.ย. - 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับชาวนาควรระวังและป้องกันหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำโดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านาแล้วจับหอยไปทำลาย เพื่อป้องกันหอยดังกล่าวเข้าในแปลงนาและแพร่พันธุ์กัดกินต้นข้าวในระยะต่อไป รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรกหากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนู สำหรับดินและอากาศจะมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคไหม้ในข้าว โรคยอดเน่าในอ้อย โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น กลาง ในช่วงวันที่ 25 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศจะมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ อนึ่ง ในช่วงฤดูฝนแมลงและศัตรูสัตว์ต่างๆ เช่น ยุง เหลือบ ริ้น และไร เป็นต้น จะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรระวังและป้องกันศัตรูสัตว์ดังกล่าวมารบกวนสัตว์เลี้ยงทำให้สัตว์เลี้ยงชะงักการเจริญเติบโต และศัตรูสัตว์บางชนิดอาจเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยง ตะวันออก

ในช่วงวันที่ 25 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศจะมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม โรครากเน่าในพริกไทย โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลังใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 27 ก.ย. - 1 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 25 - 29 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 26 ก.ย. - 1 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศจะมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม โรคแอนแทรกโนสในพืชผัก เป็นต้น ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง ส่วนพื้นที่ซึ่งฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ลักษณะอากาศ7ที่ผ่านมาที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 18 - 24 กันยายน 2567 ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ลพบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ชลบุรี และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ลำปาง แพร่ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สุรินทร์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ