พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 27 กันยายน - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 117/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 27-28 ก.ย. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาค/ ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.ย.- 3 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุม ทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีลักษณะอากาศแปรปรวน โดยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก หลังจากนั้นอากาศจะเย็นลง กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรตลอดช่วง คำเตือนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. 67 ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 27-29 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย.- 3 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 30 ก.ย.- 2 ต.ค. 67 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนเข้าสู่ต้นฤดูหนาวจะมีลักษณะอากาศแปรปรวน โดยมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับพื้นที่การเกษตรกรที่ถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้วควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ เพราะหากปล่อยไว้นานจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ นอกจากนี้ชาวสวนผลไม้ควรสำรวจดูแลการผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 27-28 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว เฉียงเหนือ 10-20 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 29 ก.ย. - 2 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นในวันที่ 3 ต.ค. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนเข้าสู่ต้นฤดูหนาวจะมีลักษณะอากาศแปรปรวน โดยมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยตรวจสอบโรงเรือนให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรง หากมีการชำรุดให้รีบซ่อมแซมเพื่อลดความเสี่ยง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้วควรรีบฟื้นฟูให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ เพื่อลดผลกระทบจากโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล นอกจากนี้เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บน้ำควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 28-29 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย.- 3 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 1-2 ต.ค. 67 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.- ในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันกัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผักไว้ด้วย สำหรับชาวสวนผลไม้ควรสำรวจการผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักต้นโคนล้มเมื่อมีลมแรง ตะวันออก
ในช่วงวันที่ 27-29 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย.- 3 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากและมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ควรสำรวจการผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักต้นโคนล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับในช่วงที่มีฝนตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังในที่ลุ่มบางพื้นที่ได้ เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง นอกจากนี้ควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยหมั่นสำรวจแปลงปลูกหากพบการแพร่ระบาดควรรีบควบคุมใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 27-28 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.ย.- 3 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 27-28 ก.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.ย.- 3 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ในสภาวะอากาศที่มีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้บางพื้นที่มีน้ำท่วมขังโดยเฉพาะในที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ส่วนบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่มาก เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนชอนใบในพืชตระกูลส้ม หนอนเจาะผลในมะเขือเปราะ เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย
PK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 20-26 กันยายน 2567 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะต้นและกลางช่วง โดยพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเกาะไหหลำ ประเทศจีนในระยะกลางช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะครึ่งแรกของช่วง อีกทั้งมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันที่ 21 และ 23 ก.ย. นอกจากนี้พายุโซนร้อน "ซูลิก (SOULIK,2415)" ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามได้เคลื่อนผ่านประเทศลาวพร้อมทั้งอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดนครพนมในช่วงเช้าของวันที่ 20 ก.ย. จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง กับมีรายงานน้ำท่วมหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกชุกโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาค
ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง กับฝนหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 22-24 ก.ย. และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดเชียงรายและพิษณุโลก กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตากและลำปาง ในวันที่ 21-26 ก.ย. จังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 20 และ 23-26 ก.ย.จังหวัดน่าน เชียงใหม่ ลำพูน เพชรบูรณ์ และแพร่ ในวันที่ 23-26 ก.ย. และ จังหวัดสุโขทัย ในวันที่ 24-26 ก.ย. และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 25-26 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดช่วง โดยมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดหนองคาย นครพนม และอุบลราชธานี กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 22-26 ก.ย. จังหวัดเลย อุดรธานี และขอนแก่น ในวันที่ 23-26 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 22 ก.ย. กับมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 20 และวันที่ 22 ก.ย. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 23-26 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-85 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 35 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 22 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องบริเวณจังหวัดสตูล กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพังงา ในวันที่ 21 ก.ย.
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ ลพบุรี นครนายก สระแก้ว ชลบุรี และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา