พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday October 7, 2024 14:15 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 121/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 8-13 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทย/ ตอนบนและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ส่งผลทำให้มีลมฝ่ายตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและประเทศไทย รวมทั้งร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน โดยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน เกษตรกรบริเวณใต้ ขอให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 8-13 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในสภาวะอากาศที่มีฝนตกน้อยในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะฝักในถั่วเหลือง หนอนกระทู้ในถั่วเขียว เป็นต้น สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้วเกษตรกรควรฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรสำรวจซ่อมแซมโรงเรือนในส่วนที่ชำรุดเพื่อป้องกันลม ฝน และความชื้นเข้าสู่โรงเรือน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-13 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-เฉียงเหนือ 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง โดยมีฝนบางพื้นที่ เกษตรกรที่ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้วควรรีบฟื้นฟูให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติรวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำที่สกปรก เพื่อป้องกันโรคฉี่หนูหรือเลปโตสไปโรซิส นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 8-13 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำเข้ากัดกินต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเสียหายได้ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมขังแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-13 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราสีชมพูในลองกอง โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย

ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วงในช่วงวันที่ 8-13 ต.ค. 67 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 8-13 ต.ค. 67 ตั้งแต่ จ.พังงา ขึ้นมา ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้มีน้ำท่วมขังได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย

PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 30 กันยายน - 6 ตุลาคม 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนบนและเวียดนามตอนบนในวันแรกของสัปดาห์ ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน โดยพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 1-2 ต.ค. จากนั้นได้เลื่อนลงไปพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกระยะหนึ่งก่อนจะเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ในระยะปลายสัปดาห์ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้เกือบตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนส่วนมากในระยะต้นและกลางสัปดาห์กับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมหลายพื้นที่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้อิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย อีกทั้งมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ในระยะปลายสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์มีฝนตกหนาแน่นและมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่กับฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ ตาก เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และสุโขทัย กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพะเยา ในวันที่ 1-4 ต.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่กับฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 15-50 ของพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดหนองคาย อุบลราชธานี ชัยภูมิ มหาสารคาม และอุดรธานี กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 2-3 ต.ค. จังหวัดขอนแก่นในวันที่ 3-4 ต.ค. จังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 3-6 ต.ค. จังหวัดกาฬสินธุ์ในวันที่ 4-6 ต.ค. และจังหวัดบุรีรัมย์ในวันที่ 5-6 ต.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์กับฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 1-3 ต.ค. และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรีในวันที่ 3-6 ต.ค. จังหวัดสิงห์บุรีและนครสวรรค์ในวันที่ 5-6 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุโขทัยในวันที่ 1 ต.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 30 ก.ย. วันที่ 3-4 ต.ค. มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้บริเวณจังหวัดปราจีนบุรีมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 30 ก.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรง ในวันที่ 30 ก.ย. และวันที่ 2 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 85-90 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 30 ก.ย. วันที่ 1 และวันที่ 3 ต.ค. มีฝนร้อยละ 30-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะวันที่ 2 วันที่ 5 และวันที่ 6 ต.ค. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดยะลา ในวันที่ 30 ก.ย. จังหวัดสงขลา ในวันที่ 5-6 ต.ค. จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 6 ต.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 30 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 3 ต.ค. มีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 2 วันที่ 5 และวันที่ 6 ต.ค.

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน สุโขทัย พิษณุโลก เลย อุดรธานี นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย หนองบัวลำภู มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท อ่างทอง ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ