พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 14 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 124/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 14 - 15 ต.ค. ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และภาคตะวันออก ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 ต.ค. ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชาเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมผ่านภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน และทะเลอันดามันตอนบน ในขณะที่ในช่วงวันที่ 19 - 20 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรตลอดช่วง คำเตือน ในช่วงวันที่ 16 - 20 ต.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมทั้งฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 14 - 17 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 7 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวสภาพอากาศแปรปรวน โดยในบางพื้นที่จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรเตรียมกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย นอกจากนี้ควรจัดเตรียมอุปกรณ์กันหนาวสำหรับตนเองเอาไว้ให้พร้อม รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุสำหรับทำแผงกำบังลมหนาวให้สัตว์เลี้ยง และอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เอาไว้ให้พร้อม รวมทั้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 15 - 17 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ และมีเฉียงเหนือ ฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวสภาพอากาศแปรปรวน โดยในบางพื้นที่จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรเตรียมกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย นอกจากนี้ควรจัดเตรียมอุปกรณ์กันหนาวสำหรับตนเองเอาไว้ให้พร้อม รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุสำหรับทำแผงกำบังลมหนาว และอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เอาไว้ให้พร้อม สำหรับชาวนาควรระวัง
และป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้คอรวง หรือหนอนกระทู้ควายพระอินทร์ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินทำให้ต้นข้าวเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ แม้ปริมาณและการกระจายของฝนในบางพื้นที่จะลดลง แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ กลาง ในช่วงวันที่ 14 - 16 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณตอนล่างของภาคในช่วงวันที่ 18 - 19 ต.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวสภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรจัดเตรียมอุปกรณ์กันหนาวสำหรับตนเองเอาไว้ให้พร้อม รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุสำหรับทำแผงกำบังลมหนาว และอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เอาไว้ให้พร้อม สำหรับฝนที่ตก โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาคจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม โรคเน่าดำในกล้วยไม้ โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรให้น้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรยกขอบบ่อให้สูงและจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อม ตะวันออก ในช่วงวันที่ 14 - 15 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 17 - 18 ต.ค. ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 6 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวสภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรจัดเตรียมอุปกรณ์กันหนาวสำหรับตนเองเอาไว้ให้พร้อม รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุสำหรับทำแผงกำบังลมหนาว และอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เอาไว้ให้พร้อม สำหรับฝนที่ตก ในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง โรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรให้น้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรยกขอบบ่อให้สูงและจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อม ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 18 - 19 ต.ค. ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 5 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 18 - 19 ต.ค. ในช่วงวันที่ 14 - 16 ต.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 20 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนชาวสวนผลไม้ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ย
เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วมีเวลาพักตัวได้นานขึ้น รวมทั้งไม่ควรกองสุมเปลือกผลไม้ ผลที่เน่าเสีย ให้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช แต่ควรนำไปกำจัดนอกแปลงปลูกเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังต้นพืช อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับลมฝ่ายตะวันออกจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนเล็กน้อย ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกยังคงมีฝนตกในหลายพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นกับมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่ จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 11 ต.ค. และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และสุโขทัย นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดสุโขทัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 8 และวันที่ 12 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ อุดรธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ มหาสารคาม นครราชสีมา และอุบลราชธานี ภาคกลางมีฝนร้อยละ 30-65 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 9 และวันที่ 11-13 ต.ค. และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี สิงห์บุรี นครสวรรค์ และอ่างทอง กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชัยนาท ในวันที่ 8-10 ต.ค. ในวันที่ 8 ต.ค. ภาคตะวันออกมีฝนร้อยละ 65-80 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 7 วันที่ 11 และวันที่ 13 ต.ค. มีฝนร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนร้อยละ 65-95 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ กับฝนหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 7 และวันที่ 11-12 ต.ค. จังหวัดสงขลา ในวันที่ 7-8 ต.ค. จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 11-12 ต.ค. และจังหวัดยะลา ในวันที่ 11-13 ต.ค. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดยะลา ในวันที่ 7 วันที่ 11 และวันที่ 13 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับฝนหนักมากบางพื้นที่ ในวันที่ 7 และวันที่ 12 ต.ค. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดกระบี่ ในวันที่ 11 ต.ค.
สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง ยะลา นราธิวาส พังงา และตรัง ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย น่าน นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม ปราจีนบุรี ระยอง ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ระนอง ภูเก็ต กระบี่ และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา