พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 16 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 125/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคใต้ตอนบน อ่าวไทยตอนบน และภาค/ ตะวันออก ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชาจะเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมผ่านภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน และทะเลอันดามันตอนบน ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่างรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก คำเตือน ขอให้เกษตรกร ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่ม
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ควรสำรวจการผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรซ่อมแซมโรงเรือนในส่วนที่ชำรุดเพื่อป้องกันลม ฝนและความชื้นเข้าสู่โรงเรือนซึ่งอาจส่งผลให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย ตะวันออก อากาศเย็นในตอนเช้าบริเวณตอนบนของภาค ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ เฉียงเหนือ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย ส่วนในระยะถัดไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมขังแปลงปลูกพืชเมื่อมีฝนตกหนัก ส่วนเกษตรกรที่สัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย
ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 16-20 ต.ค. ในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้มีฝนตกชุกหนาแน่น โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับชาวสวนผลไม้ควรสำรวจการผูกยึดค้ำยันของกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้ควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค.67 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดมีน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย
PK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 9-15 ตุลาคม 2567 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี พัทลุง นราธิวาส พังงา และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย น่าน นครพนม นครราชสีมา ศรีสะเกษ นครสวรรค์ สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ระนอง ภูเก็ต และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา