พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 18 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Friday October 18, 2024 15:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 18 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 126/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนหนักมากบางแห่ง กับมีลมกระโชกแรง

ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 18-22 ต.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตราย

และป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนเริ่มลดลง ในบริเวณซึ่งมีน้ำท่วมหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม นอกจากนี้ควรระวังโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วม เช่น โรคเครียด โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง และโรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 18-22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด เฉียงเหนือ 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนและลมให้แก่สัตว์เลี้ยง สำหรับในบริเวณซึ่งมีน้ำท่วมหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม กลาง ในช่วงวันที่ 18-22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 ต.ค. มีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 18-22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตก

หนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 18-20 ต.ค. ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 ต.ค. มีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร และควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. ในวันที่ 18 ต.ค. ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-24 ต.ค. ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 18-20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ภูเก็ตลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.พังงาขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ นอกจากนี้ควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 11 - 17 ตุลาคม 2567 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเกือบตลอดช่วง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะต้นและกลางช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝน ส่วนมากบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้ร่องมรสุมได้พาดผ่านภาคใต้ตอนกลางในระยะต้นและกลางช่วง และได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันออกเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชาและชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในระยะปลายช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนหนาแน่นเกือบตลอดช่วงกับมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 45-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกและในระยะครึ่งหลังของช่วง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน สุโขทัย และพิษณุโลก กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดลำปางในช่วงวันที่ 11-13 ต.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 12 และวันที่ 15 ต.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ในช่วงวันที่ 11-13 ต.ค. และจังหวัดชัยนาทในช่วงวันที่ 11-14 ต.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-55 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 12 วันที่ 16 และวันที่ 17 ต.ค. มีฝนร้อยละ 65-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 14 และวันที่ 16 ต.ค. มีฝนร้อยละ 15-30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยเฉพาะในระยะต้นช่วงมีฝนหนักถึงฝนหนักมากหลายพื้นที่ กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี ในช่วงวันที่ 11-12 ต.ค. และจังหวัดยะลา ในวันที่ 11-13 ต.ค.นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดยะลา ในวันที่ 11 และวันที่ 13 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 65-85 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 16 ต.ค. มีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงโดยเฉพาะมีฝนหนักถึงฝนหนักมากหลายพื้นที่ในวันที่ 12 ต.ค. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดกระบี่ ในวันที่ 11 ต.ค.

ในช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัด นราธิวาส พังงา และตรัง ส่วนจังหวัดที่มีฝนหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน กำแพงเพชร พิจิตร นครพนม นครราชสีมา ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ระนอง ภูเก็ต และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ