พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday October 21, 2024 14:19 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 127/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 22 - 23 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมา ปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอุณหภูมิลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยยังคงมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดว่าจะเคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในช่วงวันที่ 24 - 25 ต.ค. 67 และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของประเทศจีนในช่วงวันที่ 27 - 28 ต.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

คำเตือน ในช่วงวันที่ 21 - 22 ต.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงปลูก ส่วนบริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก ชาวเรือและชาวประมงควร

ระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 21 - 22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 27 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 -  2 องศาเซลเซียส ทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 9 ชม.   - ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน โดยจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งกับมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนฝนที่ตกและหยุดตกสลับกันในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนชอนใบส้ม เป็นต้น สำหรับระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้และวางแผนจัดการน้ำเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง  ตะวันออก ในช่วงวันที่ 21 - 22 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค กับมีลมแรง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของเฉียงเหนือ พื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 27 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 9 ชม. - ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน โดยจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งกับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย อีกทั้งควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยงด้วยเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เช่น หลอดไฟกก เพื่อเพิ่มความอบอุ่นป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนบางพื้นที่ยังคงมีฝนตก ทำให้อากาศมีความชื้นสูงประกอบกับมีอากาศเย็น เกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตงควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตงและองุ่น เป็นต้น กลาง ในช่วงวันที่ 21 - 23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว     10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ต.ค. มีฝนร้อยละ 10 - 30  ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค              ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36      องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 %  ความยาวนานแสงแดด 3 - 9 ชม. - ในช่วงวันที่ 21 - 23 ต.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ เกษตรกรในพื้นที่เสียงภัยควรเตรียมขนของขึ้นสู่ที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว ควรลดความชื้นลงเพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหายในโรงเก็บ สำหรับระยะนี้และในระยะที่ผ่านมา ฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินอ่อนตัวและมีความชื้นสูง เกษตรกรที่กำลังฟื้นฟูสภาพสวนหลังน้ำลด ควรหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่การเกษตร เพราะดินอาจทรุดตัวทำลายรากพืชเสียหายได้ ส่วนฝนที่ตกและหยุดตกไม่สม่ำเสมอในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ไว้ด้วย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 21 - 23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว      10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ต.ค. มีฝนร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 9 ชม. - ในช่วงวันที่ 21 - 23 ต.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร อีกทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นสะสมในพื้นที่การเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเสริมคันดินไม่ให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อน แล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้น้ำ สำหรับระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ไว้ด้วย ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 21 - 23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ต.ค.                 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก  ในช่วงวันที่ 21 - 23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค             ตั้งแต่ จ.พังงา ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้  ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ลงไป ลมตะวันตกเฉียงเหนือ  ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ    1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60   ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34           องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 8 ชม. - ในช่วงวันที่ 24 - 27 ต.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคผลเน่าในทุเรียน โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น สำหรับระยะนี้และในระยะที่ผ่านมา ฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินอ่อนตัวและมีความชื้นสูง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันรากพืชเสียหายและดินอัดแน่น อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 14 - 20 ตุลาคม 2567 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกตลอดสัปดาห์ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนกลางได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกตั้งแต่กลางสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 5-60 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 19 ต.ค. และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดลำพูน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 25-60 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 18-19 ต.ค. และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสุพรรณบุรี กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 14 ต.ค. และจังหวัดอุทัยธานีในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-55 ของพื้นที่ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากหลายพื้นที่ในวันที่ 19 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 40-65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมาก ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 19 ต.ค.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดพิษณุโลก อุทัยธานี ชัยนาท กรุงเทพมหานคร ปราจีนบุรี พังงา และภูเก็ต ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน น่าน ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย นครพนม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา นราธิวาส ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ