พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 130/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 28-31 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับพายุดีเปรสชัน "จ่ามี" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในระยะต่อไป ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นจะมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
ในช่วงวันที่ 28 ต.ค. - 2 พ.ย. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 3 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 28-31 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ เป็นต้น และพืชผักรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ตะวันออก ในช่วงวันที่ 28-31 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ เฉียงเหนือ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งกับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนและลมให้แก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 28-31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ในบริเวณซึ่งมีน้ำท่วมหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม นอกจากนี้ควรระวังโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วม เช่น โรคเครียด โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง และโรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 28-31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ
ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร และควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 28 ต.ค. - 2 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 3 พ.ย. ตอนบนของภาคอากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาคมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. คลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 2 พ.ย. ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในวันที่ 3 พ.ย. ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ นอกจากนี้ควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 21 - 27 ตุลาคม 2567 ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนบน ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน จากนั้นลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย โดยในช่วงปลายสัปดาห์มีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคกลาง ส่วนบริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 23-26 ต.ค. ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลฟิลิปปินส์ได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "จ่ามี (TRAMI,2420)" ในวันที่ 22 ต.ค. จากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกผ่านตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในวันที่ 24 ต.ค. และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองเว้ ประเทศเวียดนามในวันสุดท้ายของสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 65-80 ของพื้นที่ ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 21 กับวันที่ 23-24 ต.ค. และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดลำพูน กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุโขทัย ในวันที่ 21-23 ต.ค. รวมถึงมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุโขทัย ในวันที่ 22 ต.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่เว้นแต่วันสุดท้ายของสัปดาห์ มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางพื้นที่ ในวันที่ 22 และวันที่ 26-27 ต.ค. กับฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 23 ต.ค. ภาคกลาง มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 55 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 22 ต.ค. มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์กับวันสุดท้ายของสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอุทัยธานีพระนครศรีอยุธยาและสุพรรณบุรี ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 22 และวันที่ 27 ต.ค. มีฝนร้อยละ 85-95 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 24 และวันที่ 27 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 10-55 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 24 ต.ค. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 23-26 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง
สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัด บุรีรัมย์ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี และตราด ส่วนจังหวัดที่มีฝนหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ น่าน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา ระนอง พังงา สตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา