พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
ออกประกาศวันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 131/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 30 - 31 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนจากประเทศจีน ปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ทำให้ภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับแนวพัดสอบของลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลาง ถึงค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีน จะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นจะมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับ มีลมแรง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางและตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 2 พ.ย. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 3 - 5 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มี ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 1 - 5 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีสภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนบริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงปลูก ส่วนชาวเรือ
และชาวประมงควรระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 30 - 31 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 24 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศแปรปรวน โดยจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งกับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากอากาศที่หนาวเย็นลง สำหรับบางพื้นที่ยังคงมีฝนตกทำให้อากาศมีความชื้นสูง ประกอบกับมีอากาศเย็น เกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตงควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตงและองุ่น เป็นต้น ส่วนฝนที่ตกและหยุดตกสลับกันในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนชอนใบส้ม เป็นต้นตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 - 31 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 เฉียงเหนือ - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน โดยจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งกับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากอากาศที่หนาวเย็นลง อีกทั้งควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยงด้วยเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เช่น หลอดไฟกก เพื่อเพิ่มความอบอุ่นป้องกันสัตว์
เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควร กักเก็บน้ำเอาไว้และวางแผนจัดการน้ำเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 30 - 31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็น ในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ในช่วงวันที่ 1 - 5 พ.ย. จะมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยงด้วยเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน สำหรับพื้นที่ที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง เป็นต้น ส่วนฝนที่ตกและหยุดตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ไว้ด้วย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 - 31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิ จะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 8 ชม.
- ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน โดยจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งกับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง เกษตรกรควรค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง และดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย แม้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ไว้ด้วย ใต้
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่ มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ย. ตอนบนของภาค: อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาค: มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นมา: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ลงไป: ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มี ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 2 พ.ย.ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝน ฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป: ลมตะวันตก ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ย. ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ขึ้นมา: ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดตรัง ลงไป: ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง สำหรับฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคผลเน่าในทุเรียน โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น สำหรับระยะนี้และในระยะที่ผ่านมา ฝนที่ตกติดต่อกันอาจทำให้ดินอ่อนตัวและมีความชื้นสูง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันรากพืชเสียหายและดินอัดแน่น อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 23 - 29 ตุลาคม 2567 ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ สมุทรปราการ ชลบุรี และตราด ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ตาก พิจิตร นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ ชัยนาท นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา ระนอง พังงา ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา