พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday November 4, 2024 14:11 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 133/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 5-10 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้าง/ แรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ในระดับบนพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. 67 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมด้านภาคเหนือตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนและฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในภาคเหนือ สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับในช่วงวันที่ 4-5 พ.ย. 67 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมที่พาดผ่านในบริเวณดังกล่าว ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรบริเวณภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งก่อทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 5-10 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. 67 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรตรวจสอบความแข็งแรงของโรงเรือน เช่น หลังคา ฝาผนัง และโครงสร้างต่างๆ ให้แข็งแรง เพื่อป้องกันความเสียหายจากสภาวะลมแรง นอกจากนี้ในระยะถัดไปปริมาณฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย ตะวันออก อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. เฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่มีแหล่งน้ำควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 5-10 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ในสภาวะอากาศที่มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนองเจาะฝักในถั่วเหลือง เป็นต้น สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้วควรเร่งฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้กลับมาใช้งานได้ดีดังเดิมแล้วยังเป็นการป้องกันและลดความรุนแรงของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 5-10 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรปรับลดอัตราการเลี้ยงลง เนื่องจากระยะต่อไปเป็นช่วงที่มีสภาพอากาศแปรปรวน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำและการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำได้ ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 4-5 พ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดพังงา ขึ้นมา : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ลงไป : ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาค กับมีฝนตกหนักถึงหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกหนาแน่นและบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคผลเน่าในกาแฟ เป็นต้น

PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2567 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกในช่วงวันที่ 30-31ต.ค. อีกทั้งมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝน ส่วนมากในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้าส่วนมากบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยในระยะต้นและกลางสัปดาห์ โดยมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนกลางกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนในระยะปลายสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 35-45 ของพื้นที่ โดยมีอากาศเย็นทางตอนบนของภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 30-31 ต.ค. โดยมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะปลายสัปดาห์ ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งในในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสุพรรณบุรี ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-55 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์บางพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 30 ต.ค. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 3 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 35-65 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 2 พ.ย. มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและปลายสัปดาห์

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ลำพูน นครราชสีมา ลพบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา ระนอง พังงา พัทลุง และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ