พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 134/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 6-11 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส ในขณะที่ในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเมียนมาและด้านตะวันตกของภาคเหนือ ประกอบกับยังคงมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ในระดับบนพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางแห่ง และฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านอ่าวไทยตอนล่าง ภาคใต้ตอนล่าง และทะเลอันดามันตอนล่าง ประกอบกับในช่วงวันที่ 8-10 พ.ย. จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมที่พาดผ่านในบริเวณดังกล่าว ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
หลังจากนั้นในวันที่ 12 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในภาคเหนือตอนบน สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองทางตอนล่างของภาค ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2
เมตร คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ สำหรับในช่วงวันที่ 8-10 พ.ย. บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 9-12 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนเริ่มลดลง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิเฉียงเหนือ ต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 9-11 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. หลังจากนั้นในวันที่ 12 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนเล็กน้อยบางแห่งกับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนและลมให้แก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยมีฝน/ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 9-11 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. หลังจากนั้นในวันที่ 12 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ในบริเวณซึ่งมีน้ำท่วมหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม นอกจากนี้ควรระวังโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วม เช่น โรคเครียด โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง และโรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาคกับมีลมแรง โดยมีฝน/ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของ
พื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 9-11 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากตามแนวชายฝั่งทะเล อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้นในวันที่ 12 พ.ย. มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 6-11 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 8-11 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้นในวันที่ 12 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ นอกจากนี้ควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก RR ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2567 ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัด เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา และนราธิวาส ส่วนจังหวัดที่มีฝนหนัก ได้แก่ ลำพูน นครราชสีมา นครสวรรค์ ลพบุรี กรุงเทพมหานคร สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา ระนอง พังงา ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา