พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 11 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 136/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 11 - 17 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2 - 3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 13 - 17 พ.ย. ลมตะวันออกจะพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรควรดูแลรักษาสุขภาพ และระมัดระวังการสัญจรขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในวันที่ 11 พ.ย. บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 17 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2 - 3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยอากาศหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารลงเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่วนสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และอาคารบ้านเรือน สำหรับไม้ผลที่ออกดอกในช่วงฤดูหนาว เช่น ลำไยและลิ้นจี่ เป็นต้น เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในสวนและโคนต้นพืชให้โล่งเตียน เมื่ออุณหภูมิลดลงและมีความยาวนานที่เพียงพอพืชจะสามารถแตกตาดอกได้ดี อนึ่ง เนื่องจากฤดูนี้และฤดูต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ตะวันออก ในช่วงวันที่ 11 - 12 พ.ย. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2 - 3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยเฉียงเหนือ บางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 34 องศาเซลเซียสบริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 17 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค อุณหภูมิจะสูงขึ้นอีกเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูอากาศหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารลงเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับเกษตรกรที่ติดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยง ควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งานเพื่อป้องกันไฟลุกลามจนเป็นอัคคีภัย อนึ่ง เนื่องจากฤดูนี้และฤดูต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำ
ที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง หากเกษตรกรต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโตและระยะผลิดอกออกผล กลาง ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ย. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 17 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง เนื่องจากฤดูนี้และฤดูต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง โดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ ก็จะประหยัดน้ำลงไปได้ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 11 - 12 พ.ย. มีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2 - 3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากตามแนวชายฝั่งทะเล อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 17 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง เนื่องจากฤดูนี้และฤดูต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง โดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ ก็จะประหยัดน้ำลงไปได้ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในวันที่ 11 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 17 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 7 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 5 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกซึ่งอาจทำให้เกิด สภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก อย่าให้น้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ สำหรับฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคใบยางร่วงในยางพารา เป็นต้น สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2567 บริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ตลอดสัปดาห์ ในขณะที่ลมตะวันตกและลมตะวันออกเฉียงใต้ในระดับบนพัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ในวันที่ 5 พ.ย. จากนั้นมีคลื่นกระแสลมตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมด้านตะวันตกของภาคเหนือในระยะกลางสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้าส่วนมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่าน กับมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้มีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาค ส่วนทางตอนล่างของภาคมีอากาศเย็นหลายพื้นที่เว้นแต่ในวันแรกและระยะปลายสัปดาห์มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ เว้นแต่วันช่วงที่ 5-7 พ.ย. มีฝนร้อยละ 40-65 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 15-60 ของพื้นที่ ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 5 และวันที่ 7 พ.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสุพรรณบุรี ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ กับมีอากาศเย็นบริเวณเทือกเขาตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 45-55 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ และมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 4 พ.ย. จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 4-5 และวันที่ 9 พ.ย. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในช่วงวันที่ 4-6 พ.ย. กับจังหวัดชุมพร ในวันช่วงที่ 4-5 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 65-85 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 5-6 พ.ย. และฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 9 พ.ย. กับมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดกระบี่ จนถึงวันที่ 6 พ.ย.
ในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน นครสวรรค์ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี ยะลา นราธิวาส ระนอง ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา