พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Wednesday November 13, 2024 15:03 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 137/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 13-16 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทย/ ตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าในภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ สำหรับร่องมรสุมพาดกำลังอ่อนพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง และประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง และมีอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง โดยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ขอให้ เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่อาจเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ย. 67 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้าทางตอนบนของภาค และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ จากนั้นอุณหภูมิจะลดลงและมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เนื่องจากในระยะถัดไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรตลอดช่วงแล้ง รวมทั้งควรระวังผลกระทบที่อาจเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร ตะวันออก ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ย. 67 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้าทางตอนบนของภาค และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเฉียงเหนือ เซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-19 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ในสภาวะอากาศที่ยังมีฝนและมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูดและโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะในไม้ผลที่อยู่ในระยะแทงช่อดอก นอกจากนี้เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงหน้าแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. 67 มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย กับมีลมแรง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง ทำให้ทางตอนบนของภาคมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ในสภาวะอากาศที่มีฝนและอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่นในมะม่วง เพลี้ยแป้งในส้มโอ เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรดูแลสภาพโรงเรือนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และหมั่นดูแลสัตว์เลี้ยง หากพบมีอาการป่วยให้รีบแยกออกมารักษา ตะวันออก ในช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. 67 มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อยกับมีลมแรง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง และมีอากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับชาวสวนมะม่วงซึ่งอยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อนควรระวังการระบาดศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น ศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรปรับอัตราการเลี้ยงลง เนื่องจากระยะต่อไปเป็นช่วงที่มีอากาศแปรปรวน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำและการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 13-17 พ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 18-19 พ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 13-17 พ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนช่วงในวันที่ 18-19 พ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 18-19 พ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกต่อเนื่องกัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบติดในทุเรียน โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น ส่วนบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนน้อย เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นแล้วยังเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ